การเสริมเหล็กในพื้นยื่นคอนกรีตเสริมเหล็ก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ

โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ

จากรูปที่แสดงจะเห็นได้ว่าเป็นกรณีของการที่เราต้องการที่จะทำการก่อสร้างพื้นยื่นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือ REINFORCED CONCRETE CANTILEVER SLAB โดยที่จะมีจุดรองรับเป็นคานคอนกรีตเสริมเหล็ก ผลจากการออกแบบคือ หากต้องการออกแบบให้หน้าตัดนั้นไม่เป็นการวิบัติเนื่องด้วยแรงดึงหรือ TENSION FAILURE และการวิบัติเนื่องด้วยแรงอัดหรือ COMPRESSION FAILURE และเพื่อเป็นการควบคุมให้การวิบัตินั้นเกิดขึ้นในรูปแบบการรับแรงดึงเป็นหลักหรือ TENSION FAILURE MODE ดังนั้น ณ หน้าตัดวิกฤติจะมีความต้องการปริมาณของเหล็กเสริมจำนวนไม่น้อยกว่า 7 CM^(2)/M โดยที่จะไม่มีการอาศัยวิธีทางกลหรือ MECHANICAL BOND เพื่อทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวหรือ BOND STRENGTH ขึ้นในโครงสร้าง ซึ่งหากตัวเลือกในการก่อสร้างคือ

 

(A.) ทำการเสริมเหล็กที่ผิวด้านบนของแผ่นพื้นยื่นด้วยเหล็ก DB12mm โดยใช้ระยะห่างระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของเหล็กเสริมเท่ากับ 0.20 เมตร โดยที่ปลายนั้นจะไม่มีการล้วงฝังเข้าไปในคานคอนกรีตเสริมเหล็ก

(B.) ทำการเสริมเหล็กที่ผิวด้านบนของแผ่นพื้นยื่นด้วยเหล็ก DB12mm โดยใช้ระยะห่างระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของเหล็กเสริมเท่ากับ 0.20 เมตร โดยที่ปลายนั้นจะมีการล้วงฝังเข้าไปในคานคอนกรีตเสริมเหล็ก

(C.) ทำการเสริมเหล็กที่ผิวด้านบนของแผ่นพื้นยื่นด้วยเหล็ก DB12mm โดยใช้ระยะห่างระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของเหล็กเสริมเท่ากับ 0.15 เมตร โดยที่ปลายนั้นจะไม่มีการล้วงฝังเข้าไปในคานคอนกรีตเสริมเหล็ก

(D.) ทำการเสริมเหล็กที่ผิวด้านบนของแผ่นพื้นยื่นด้วยเหล็ก DB12mm โดยใช้ระยะห่างระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของเหล็กเสริมเท่ากับ 0.15 เมตร โดยที่ปลายนั้นจะมีการล้วงฝังเข้าไปในคานคอนกรีตเสริมเหล็ก

 

คำถามก็คือ เพื่อนๆ จะเลือกวิธีในการก่อสร้างในรูปแบบใดที่จะเป็นการทำให้แผ่นพื้นยื่นคอนกรีตเสริมเหล็กของเพื่อนๆ นั้นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีและมีความประหยัดที่สุด

 

#โพสต์ของวันเสาร์

#ถามตอบชวนสนุก

#ปัญหาการเสริมเหล็กในพื้นยื่นคอนกรีตเสริมเหล็ก

#ครั้งที่2

ADMIN JAMES DEAN

 

คำตอบ

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อวันพุธที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นเรามาค่อยๆ ทำการวิเคราะห์ทุกๆ ข้อเพื่อหาคำตอบของคำถามในข้อนี้ไปพร้อมๆ กันเลยก็แล้วกันนะครับ

เริ่มแรกเรามาพิจารณากันก่อนว่าหากเงื่อนไขข้อแรกที่ปัญหาข้อนี้ได้ทำการกำหนดมาคือ ณ หน้าตัดวิกฤตินั้นมีความต้องการปริมาณของเหล็กเสริมจำนวนไม่น้อยกว่า 7 CM^(2)/M และในเมื่อทั้ง 4 กรณีกำหนดให้ใช้เป็นเหล็กเสริมขนาด DB12mm ทั้งหมด ดังนั้นเราก็จะสามารถทำการคำนวณหาค่าระยะห่างระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของเหล็กเสริมที่ต้องการออกมาได้เลย เริ่มจากคำนวณหาพื้นที่หน้าตัดของเหล็ก DB12mm ก่อนซึ่งก็คือ

Ab = π x (12/10)^(2) / 4

Ab = 1.13 CM^(2)

 

ต่อมาก็คือทำการคำนวณหาระยะห่างระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของเหล็กเสริมที่ต้องการได้จาก

SPACING req’d = Ab / As req’d

SPACING req’d = 1.13 / 7

SPACING req’d = 0.161 M

 

จากข้อมูลของปัญหาข้อนี้เราจึงสามารถที่จะตัดกรณีของข้อ (A) และ (B) ออกไปก่อนได้เลยและหากเรามาทำการพิจารณาเงื่อนไขข้อที่สองที่ปัญหาข้อนี้ได้ทำการกำหนดมาคือ ไม่มีการอาศัยวิธีทางกลหรือ MECHANICAL BOND เพื่อทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวหรือ BOND STRENGTH ขึ้นในโครงสร้าง เราจึงสามารถที่จะตัดกรณีของข้อ (C) ออกไปได้อีกหนึ่งข้อ ในที่สุดก็จะทำให้เหลือกรณีของข้อ (D) เพียงข้อเดียวที่เป็นคำตอบที่ถูกต้องครับ

 

สรุปก็คือกรณีในข้อ (D.) ซึ่งคือทำการเสริมเหล็กที่ผิวด้านบนของแผ่นพื้นยื่นด้วยเหล็ก DB12mm โดยใช้ระยะห่างระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของเหล็กเสริมเท่ากับ 0.15 เมตร โดยที่ปลายนั้นจะมีการล้วงฝังเข้าไปในคานคอนกรีตเสริมเหล็กจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดจากบรรดาทั้ง 4 ตัวเลือกที่มีอยู่นั่นเองครับ

 

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

#โพสต์ของวันอาทิตย์

#ถามตอบชวนสนุก

#ตอบปัญหาการเสริมเหล็กในพื้นยื่นคอนกรีตเสริมเหล็ก

#ครั้งที่2

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
091-947-8945
081-634-6586

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com