สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE) นะครับ
เนื่องจากว่าเมื่อวานนี้ช่วงเย็นๆ ได้มีประเด็นคำถามด่วนที่ถูกฝากเข้ามาผ่าน CEO หนุ่มสุดหล่อแห่งภูมิสยามว่า
“หากว่าเราจะทำการเปรียบเทียบความสามารถในการรับแรงถอน (PULL OUT FORCE) ของตัวเสาเข็ม ระหว่างชนิด เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (SPUN MICROPILE) และ เสาเข็มเจาะ (BORED PILE) ทั่วๆ ไปนั้นเสาเข็มชนิดใดนั้นจะมีความสามารถในการรับแรงถอนได้ดีกว่ากัน ?”
อย่างที่เราทราบกันดีนะครับว่ากลไกความสามารถในการรับ “แรงอัด” ในตัวเสาเข็มนั้นจะเกิดจากปัจจัยหลักๆ 2 ประการ คือ แรงเสียดทานที่ผิว (SKIN FRCITION CAPACITY) และ แรงแบกทาน (END BEARING CAPACITY) ที่ปลายของเสาเข็มนะครับ แต่ ประเด็นในเรื่องของกลไกความสามารถในการรับ “แรงดึง” หรือ แรงถอนของเสาเข็มนั้นจะเกิดจาก แรงเสียดทานที่ผิว เท่านั้นนะครับ ซึ่งแรงเสียดทานที่เสาเข็มจะรับได้นั้นมีปัจจัยจาก 3 อย่างหลักๆ คือ
(1) ระยะความยาวของเส้นรอบรูปของเสาเข็ม
(2) ค่ากำลังความสามารถในการรับแรงได้ของ ดิน
(3) ค่ากำลังความสามารถในการรับแรงได้ของ เสาเข็ม
จากทั้ง 3 ปัจจัยข้างต้นก็เป็นที่แน่นอนว่า ในทำเลสถานที่ก่อสร้างเดียวกัน ดินจะมีค่ากำลังความสามารถในการรับแรงที่เท่าๆ กัน ดังนั้นยิ่งเสาเข็มของเรามี เส้นรอบรูปที่มาก และ มีค่ากำลังความสามารถในการรับแรงได้ของ เสาเข็ม ที่มาก ก็จะยิ่งมีความสามารถในการรับแรงดึงที่มากนั่นเอง
เรามาเปรียบเทียบกันง่ายๆ นะครับ (ดูจากประกอบได้นะครับ) ผมมีเสาเข็มสปันไมโครไพล์ ขนาด สผก เท่ากับ 30 CM และ เสาเข็มเจาะ ขนาด สผก เท่ากับ 35 CM โดยที่เสาเข็มทั้ง 2 ต้นมีความยาวเท่ากับ 21 M เท่าๆ กัน หากว่าเราจะทำการก่อสร้างเสาเข็มๆ นี้ในดินที่มีสภาพเหมือนๆ กัน จงคำนวณหาความสามารถในการรับแรงดึงของเสาเข็ม กำหนดให้ใช้ค่าสัดส่วนความปลอดภัยในการออกแบบเสาเข็มเท่ากับ 3
ผมจะทำการสมมติให้ค่าความสามารถในการรับแรงดึงเสียดทานของดินนั้นเท่ากับ 5T/M^(2) เพื่อให้การคำนวณนั้นทำได้แบบง่ายๆ และ ตรงไปตรงมานะครับ เริ่มจากเสาเข็มสปันไมโครไพล์กันก่อน
เส้นรอบรูปของเสาเข็มเท่ากับ = π (0.30) = 0.94 M
ความยาวของเสาเข็ม = 21 M
กำลังรับแรงดึงเสียดทานของดิน = 5 T/M^(2)
ค่าสัดส่วนความปลอดภัยในการออกแบบเสาเข็ม = 3
ค่าความสามารถในการรับแรงดึงของเสาเข็ม = 0.94x21x5/3 = 32.90 ≈ 33 T
มาต่อกันที่เสาเข็มเจาะกันบ้างนะครับ
เส้นรอบรูปของเสาเข็มเท่ากับ = π (0.35) = 1.099 M
ความยาวของเสาเข็ม = 21 M
กำลังรับแรงดึงเสียดทานของดิน = 5 T/M^(2)
ค่าสัดส่วนความปลอดภัยในการออกแบบเสาเข็ม = 3
ค่าความสามารถในการรับแรงดึงของเสาเข็ม = 1.099x21x5/3 = 38.46 ≈ 38 T
จะพบว่าเสาเข็มเจาะจะมีความสามารถในการรับแรงดึงที่สูงกว่าเสาเข็มสปันไมโครไพล์อยู่เล็กน้อย คือ ประมาณเป็นค่าร้อยละได้เท่ากับ
P = 100 x ( 38 – 33 ) / 33 ≈ 15%
ซึ่งข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดอีกประมารการหนึ่งที่มีผลต่อการรับกำลังแรงดึงของเสาเข็มที่ สปันไมโครไพล์ นั้นมีแตกต่างออกไปจาก เสเข็มเจาะ ก็คือ ค่ากำลังความสามารถในการรับแรงได้ของ เสาเข็ม นั่นเอง เพราะ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ นั้นมีการผลิตโดยการควบคุมคุณภาพในโรงงานเป็นอย่างดี เวลาทำการติดตั้งก็มีการควบคุณภาพรอยเชื่อมระหว่างจุดต่อเป็นอย่างดี โดยทั้งสองประการที่ผมกล่าวถึงข้างต้นนั้นสามารถที่จะทำการทดสอบและตรวจสอบได้เพื่อเป็นการยืนยันผลได้อีกด้วยนะครับ
ดังนั้นหากเพื่อนๆ มีความประสงค์ที่จะเลือกใช้เสาเข็มชนิดใดก็แล้วแต่ในการทำงานก่อสร้างเพื่อให้ตัวเสาเข็มนั้นทำหน้าที่รับ แรงดึง หรือ แรงถอน แล้วละก็ ผมก็ขอฝากไว้ให้เพื่อนๆ ทำการพิจารณาเลือกใช้งานตัวโครงสร้างเสาเข็มที่มีคุณสมบัติที่มีความเหมาะสมต่อการ ก่อสร้าง และ ใช้งาน ตัวโครงสร้างเสาเข็มกันให้ดีด้วยนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com