ตัวอย่างการคำนวณเปรียบเทียบค่าความสามารถในการรับน้ำหนักปลอดภัยระหว่างกรณีของเสาเข็มสปันไมโครไพล์และโครงสร้างเสาเข็มเจาะ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ
หลังจากที่เมื่อในสัปดาห์ที่แล้วผมได้นำเอาประเด็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็มในหัวข้อที่ว่า เหตุใดเวลาที่เราทำการคำนวณโครงสร้างเสาเข็มที่มีรูปทรง หรือ มีขนาดกว้างและยาว หรือ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ที่เท่าๆ กัน แต่โครงสร้างเสาเข็มแบบเจาะจึงมีค่าความสามารถในการรับแรงฝืดหรือ FRICTION FORCE CAPACITY ที่ต่ำกว่าในโครงสร้างเสาเข็มแบบตอก เอามาอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับ

ดังนั้นในวันนี้ผมจึงจะขออนุญาตมาทำการยกตัวอย่างถึงผลจากการคำนวณในกรณีของโครงสร้างเสาเข็มที่มีหน้าตัดเป็นรูปทรงกลมโดยที่ผมจะทำการเปรียบเทียบระหว่าง โครงสร้างเสาเข็มเจาะ กับ โครงสร้างเสาเข็มสปันไมโครไพล์ โดยเพื่อนๆ จะเห็นได้ในตอนท้ายว่า เมื่อกำหนดให้ปลายล่างสุดของเสาเข็มนั้นอยู่ที่ระดับความลึกเท่าๆ กัน ของชั้นดินชนิดเดียวกันด้วยและถึงแม้ขนาดของโครงสร้างเสาเข็มสปันไมโครไพล์นั้นจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางที่เล็กกว่าแต่สุดท้ายก็ยังให้ผลการคำนวณค่าการรับน้ำหนักปลอดภัยของโครงสร้างเสาเข็มที่สูงกว่าโครงสร้างเสาเข็มเจาะอยู่ดี ซึ่งเพื่อนๆ ก็สามารถที่จะดูข้อมูลจากการคำนวณได้จากรูปประกอบที่ผมได้นำเอามาฝากให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนในโพสต์ของวันนี้ได้นะครับ

โดยตัวอย่างนี้ผมได้นำเอาข้อมูลจากการทดสอบดินมาจากสถานที่ก่อสร้างแห่งหนึ่งในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยที่ผมได้เลือกนำเอาข้อมูลของชั้นดินที่ระดับความลึกของเสาเข็มเท่ากับ 8 เมตร เท่าๆ กันมาใช้ในการเปรียบเทียบในตัวอย่างข้อนี้ ทั้งนี้เพื่อนๆ จะสามารถเห็นได้ตั้งแต่ค่า SUM OF qf เลยว่าโครงสร้างเสาเข็มสปันไมโครไพล์นั้นจะมีขนาดของค่า SUM OF qf ที่สูงกว่าในกรณีของโครงสร้างเสาเข็มเจาะ ซึ่งก็จะสืบเนื่องมาจากเหตุผลที่ผมได้ทำการอธิบายแก่เพื่อนๆ ไปเมื่อในสัปดาห์ที่แล้วนะครับ

ซึ่งผมได้เลือกใช้งานโครงสร้างเสาเข็มเจาะให้มีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 350 มม และให้โครงสร้างเสาเข็มสปันไมโครไพล์นั้นมีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 300 มม ซึ่งก็จะมีขนาดที่เล็กกว่าพอสมควรแต่สุดท้ายแล้วเมื่อโครงสร้างเสาเข็มสปันไมโครไพล์นั้นมีค่า SUM OF qf ที่สูงกว่าโครงสร้างเสาเข็มเจาะจึงทำให้ค่าความสามารถในการรับน้ำหนักปลอดภัยของโครงสร้างเสาเข็มสปันไมโครไพล์นั้นมีขนาดเท่ากับ 32 T/PILE ส่วนค่าความสามารถในการรับน้ำหนักปลอดภัยของโครงสร้างเสาเข็มเจาะนั้นจะมีขนาดเท่ากับ 23 T/PILE นะครับ

สุดท้ายเพื่อนๆ ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า ต่อให้กรณีของโครงสร้างเสาเข็มเจาะซึ่งจะมีขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางที่ใหญ่กว่าโครงสร้างเสาเข็มสปันไมโครไพล์แต่ตัวโครงสร้างเสาเข็มเจาะเองนั้นกลับมีค่าความสามารถในการรับน้ำหนักปลอดภัยที่น้อยกว่าในกรณีของโครงสร้างเสาเข็มสปันไมโครไพล์มากถึง 11 T/PILE เลยนะครับ

สรุปการโพสต์ในวันนี้ก็คือ หากสภาพของชั้นดินภายในโครงการก่อสร้างของเพื่อนๆ นั้นมีคุณลักษณะเป็นดินที่จะทำให้โครงสร้างเสาเข็มนั้นเป็นเสาเข็มรับแรงฝืดเป็นหลัก หรือ FRICTION PILE รวมถึงเพื่อนๆ ก็มีความต้องการที่จะใช้งานโครงสร้างเสาเข็มให้เกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด เพื่อนๆ ก็ควรที่จะเลือกใช้งานโครงสร้างเสาเข็มสปันไมโครไพล์ก็จะเป็นการดีที่สุดนั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์วันพฤหัสบดี
#ความรู้เกี่ยวกับการทำงานเสาเข็มและฐานราก
#ตัวอย่างการคำนวณเปรียบเทียบค่าความสามารถในการรับน้ำหนักปลอดภัยระหว่างกรณีของเสาเข็มสปันไมโครไพล์และโครงสร้างเสาเข็มเจาะ
ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปัน ไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)

1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น

2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)

4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น

5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

 

เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)

6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น

7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น

8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 (คุณจิน)
☎️ 082-790-1448 (คุณสปัน)
☎️ 082-790-1449 (คุณปุ๊ก)
☎️ 091-9478-945 (คุณสปัน)
☎️ 091-8954-269 (คุณสปัน)
☎️ 091-8989-561 (คุณมาย)
📲 https://lin.ee/hum1ua2
🎥 https://lin.ee/gN4OMZe
📥 https://m.me/bhumisiam

 

🌎 Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com