สวัสดีครับ ช่วงบ่ายๆ แบบนี้ ก็มาอยู่กับ Mr.เสาเข็ม อีกเช่นเคย พร้อมความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างและวิศวกรรมนะครับ วันนี้จะเป็นเรื่อง การพิจารณาเพื่อทำการคำนวณเพื่อแก้ไขงานโครงสร้างของฐานรากเมื่อเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์
ในสถานการณ์ปกติหากว่ามีการทำการก่อสร้างโครงสร้างฐานรากและจำเป็นที่จะต้องใช้ระบบโครงสร้างเป็นเสาเข็ม ไม่ว่าจะเป็น เสาเข็มตอก หรือ เสาเข็มเจาะ และ หากเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ไปจากตำแหน่งเดิมที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดไว้ เราจำเป็นที่จะต้องมีการคำนวณเพื่อทำการตรวจสอบรายการคำนวณซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ นะครับ
(1) ตัวโครงสร้างของเสาเข็ม
ในบางครั้งเมื่อเสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ไป อาจจะทำให้แรงปฏิกิริยาในเสาเข็มนั้นเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการการคำนวณและตรวจสอบแรงปฏิกิริยาในตัวโครงสร้างของเสาเข็มที่สภาวะการใช้งานว่าค่าๆ นี้ไม่เกิน นน ปลอดภัยที่เสาเข็มนั้นจะสามารถรับได้นะครับ
(2) ตัวโครงสร้างเสาตอม่อ
ในบางครั้งเมื่อเสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ไป อาจจะทำให้เกิดโมเมนต์เพิ่มมากขึ้นในตอม่อด้วยนะครับ ดังนั้นเราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจสอบเหล็กเสริมในเสาตอม่อด้วยนะครับ
(3) ตัวโครงสร้างฐานราก
ในบางครั้งเมื่อเสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ไป อาจจะทำให้เกิดผลในข้อที่ (1) ซึ่งแน่นอนว่าจะมีผลต่อตัวโครงสร้างฐานรากอย่างแน่นอนนะครับ ดังนั้นเราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการตรวจสอบเหล็กเสริมในฐานรากด้วยนะครับ
ซึ่งตามหลักการโดยทั่วๆ ไปแล้วในรายการคำนวณนั้นจะต้องแสดงให้เห็นว่าเราจะทำการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการที่เสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ไปได้อย่างไรนะครับ ในบรรดา 3 รายการข้างต้นนี้ในรายการที่ (1) และ (2) จะถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด ส่วนรายการที่ (3) หากว่าเสาเข็มนั้นเยื้องศูนย์ไม่มากจนเกินไป เหล็กที่เสริมอยู่เดิมในตัวโครงสร้างของฐานรากก็น่าที่จะรับได้ ไม่น่ามีปัญหาอะไรนะครับ แต่ เพื่อความสมบูรณ์ในการคำนวณเราก็ควรที่จะมีรายการคำนวณในรายการที่ (3) ประกอบด้วยนะครับ
หากว่าเราทำการการตรวจสอบเสาเข็มตามข้อที่ (1) โดยใช้หลักการในการคำนวณตามสมการที่ผมพูดให้ฟังไปแล้วเมื่อวาน หากเราพบว่าแรงในเสาเข็มสูงสุด หรือ Rmax นั้นมีค่าไม่เกิน นน บรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม หรือ Rallow และ แรงในเสาเข็มน้อยที่สุด หรือ Rmin นั้นมีค่ามากกว่า ศูนย์ เพราะหากเรายอมให้ค่าๆ นี้น้อยกว่าศูนย์ก็แสดงว่าเราต้องยอมให้เสาเข็มต้นนั้นๆ รับแรงดึงได้ ซึ่งก็จะเป็นปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งเลยนะครับ เอาเป็นว่าหากเป็นไปตามเงื่อนไขดังที่ผมได้กล่าวถึงข้างต้นนี้แล้วก็ถือว่าเป็นอันใช้ได้แล้วนะครับ โดยที่ผลจากการคำนวณอันหนึ่งที่ผมอยากที่จะให้เพื่อนๆ ทำการสังเกตง่ายๆ ก็คือ ในการคำนวณหาค่า m และ n เราจะพบว่าจะมีพจน์ที่เป็นตัวหาร ซึ่งก็คือพจน์ Ix Iy – Ixy^(2) โดยหากผลการคำนวณในพจน์ๆ นี้ออกมามีค่าเท่ากับ ศูนย์ ก็จะทำให้สมการในการคำนวณหาค่า m และ n นั้นมีค่าเป็นอนันต์
สรุปนะครับ หากว่าพจน์ Ix Iy – Ixy^(2) นี้ออกมาเท่ากับ ศูนย์ จริงๆ ก็จะแสดงให้เราเห็นได้ว่าตัวโครงสร้างของฐานรากของเรานั้นมีสภาพที่ขาดซึ่งเสถียรภาพที่ดีเพียงพอต่อการใช้งานนั่นเองนะครับ การแก้ปัญหาสำหรับกรณีๆ นี้ก็อาจจะจำเป็นที่จะต้องทำการแก้ไขด้วยหลากหลายวิธีการนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1501718919874228
BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
2) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand
รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449