หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบวิศวกรรมงานดินและฐานราก (GEOTECHNICAL & FOUNDATION ENGINEERING DESIGN หรือ GFE)
วันนี้ผมจะขออนุญาตนำ ตย CASE STUDY กรณีของงานออกแบบงานหนึ่งที่ผมได้มีโอกาสไปพบเจอมาจริงๆ เล่าสู่กันฟังให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบเพื่อเป็นวิทยาทาน โดยเรื่องนี้จะเกี่ยวข้องกับ การทำงานเสาเข็มเจาะระบบแห้ง หรือ DRY PROCESS BORED PILE นะครับ
เรื่องมีอยู่ว่าโครงการนี้ผมไม่ได้เป็นผู้ออกแบบงานวิศวกรรโครงสร้างตั้งแต่ครั้งแรก พอเริ่มต้นทำงานก่อสร้างไปสักพักทางสถาปนิกผู้ควบคุมงานซึ่งเป็นพี่ชายที่ผมเคารพบนับถือได้ติตต่อมาที่ผมและได้เล่าถึงปัญหาที่พบว่า
เกิดปัญหาตรงที่ เมื่อได้ทำการก่อสร้างเสาเข็มเจาะระบบแห้งไปได้ที่ความลึกประมาณ 12 ม ไม่เกิน 13 ม ก็ต้องหยุดการเจาะเสาเข็ม เพราะ ที่ชั้นดินชั้นนี้พบว่าไม่สามารถที่จะเจาะต่อได้แล้ว โดยที่อาการคือ หลุมเจาะพังทลายลงมา คล้ายๆ กับว่าเจอน้ำใต้ดิน ทาง ผรม ทำงานเสาเข็มเจาะจึงทำการเจาะเสาเข็มได้ลึกเพียงที่ระดับดินนี้
ผมจึงได้สอบถามและให้คำแนะนำไปว่า มีการทำการเจาะสำรวจดินหรือไม่ ?
ซึ่งคำตอบคือไม่มี
ผมจึงได้ให้คำแนะนำไปว่าให้ทำการเจาะสำรวจดินเพื่อตรวจสอบชั้นดินเสียก่อน และ ในขณะเดียวกันก็ให้ทำการลองสอบเทียบขนาดความยาวของเสาเข็มเจาะในโครงการก่อสร้างใกล้เคียงควบคู่ไปด้วย
ผลจากการสอบถามปรากฏว่า ความยาวของเสาเข็มเจาะในบริเวณพื้นที่ข้างเคียงนั้นสามารถทำได้ลึกถึง 21 ม เลย และ ผลของการเจาะสำรวจดินเป็นดังรูปที่ผมแสดงไว้ในรูปครับ
คำถาม คือ เหตุใดการเจาะเสาเข็มในโครงการนี้ถึงเจาะได้ที่ความลึกแค่ 12 ม ไม่เกิน 13 ม ทั้งๆ ที่จะเห็นได้จากข้อมูลดินนะครับว่าชั้นดินในสถานที่ก่อสร้างแห่งนี้เป็นชั้นดินเหนียวทั้งหมดเลย หรือ พูดง่ายๆ ก็คือ เรายังไม่เจอแม้กระทั่งทรายชั้นแรกเลยด้วยซ้ำไป จะเป็นไปได้อย่างไรที่น้ำจะทะลักเข้ามาจนหลุมเจาะนั้นเกิดการพังทลายลงมา ?
ต่อมาพอผมถูกว่าจ้างให้เป็นวิศวกรโครงสร้าง ได้รับมอบหมายให้มาทำการออกแบบแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผมก็ทำการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ในที่สุดผมก็พบคำตอบของปัญหา นั่นก็คือ ชั้นดินบริเวณนี้เป็น ชั้นดินเหนียวอ่อนมาก ถึง ชั้นดินเหนียวอ่อนปานกลาง เพราะ จะเห็นได้จากแผนภูมิว่าค่า SPT ที่ระดับความลึกดังกล่าวนี้จะอยู่ที่ประมาณ 4 BLOWS/FOOT ไม่เกิน 5 BLOWS/FOOT เท่านั้น ซึ่งหากจำแนกชั้นดินออกมาก็จะพบได้ว่าเป็นชั้นดินประเภท CLAY ที่มีระดับของความแข็งแรงของชั้นดินเพียง SOFT และไม่เกิน MEDIUM เพียงเท่านั้น แต่ ปัญหานี้ก็คงจะไม่เกิดขึ้นหากว่าทาง ผรม นั้นมี ความรู้ และ ความคุ้นเคย กับการทำงานในสถานที่ก่อสร้างนั้นๆ นะครับ เพราะ วิธีการทำงานเมื่อเราต้องพบเจอกับสถานการณ์แบบนี้ คือ เมื่อทำการเจาะดินไปถึงระดับนี้ เราก็ควรที่จะทำการคาปลอก หรือ CASING เอาไว้ก่อน อย่าเพิ่งรีบถอนขึ้นมา หรือ ไม่ก็อาจจะใช้สารจำพวก BENTONITE เพื่อช่วยให้หลุมเจาะนั้นคงสภาพอยู่ได้โดยไม่พังทลายลงมา แต่ เนื่องจากการทำงานในครั้งนี้ไม่ได้มีการทำการเจาะสำรวจดินก่อนเริ่มต้นงานก่อสร้าง ซ้ำร้ายทาง ผรม งานเสาเข็มเจาะเองนั้นก็ขาด ความรู้ ความชำนาญ ในการทำงานในพื้นที่บริเวณดังกล่าว พอทำการหย่อนปลอกลึกลงไปในดินที่ระดับประมาณ 10 ม กว่าๆ ก็รีบทำการถอนปลอกขึ้นมาเร็วเกินไป โดยที่ไม่ได้ทำการคาปลอกเอาไว้ก่อน และ ก็ไม่ได้มีการใช้สารจำพวก BENTONITE เพื่อช่วยให้หลุมเจาะนั้นคงสภาพ จึงเป็นเหตุผลของปัญหาดังกล่าวนั่นเองนะครับ
เอาละครับ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไปแล้ว ผมก็ดำเนินการแก้ไขปัญหาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ที่นำมาแชร์นี้ไมไ่ด้มีเจตนาหรือต้องการที่จะหาคนผิดหรืออะไร แต่ เหตุผลจริงๆ คือ อยากให้พวกเราทุกๆ คนนั้นได้มีโอกาสที่จะเรียนรู้จากปัญหาที่เกิดขึ้นนี้มากกว่านะครับ
พวกเราจะสามารถที่จะเรียนรู้อะไรได้บ้างจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ครับ ?
ผมสรุปออกมาได้ทั้งหมด 5 ข้อดังต่อไปนี้นะครับ
1. การทำการเจาะสำรวจดินก่อนเริ่มต้นทำการก่อสร้างเป็นสิ่งจำเป็น
2. หลายๆ คนอาจคิดว่างานเสาเข็มเจาะเป็นงานง่ายๆ แต่ ผรม งานเสาเข็มเจาะที่มีความรู้และประสบการณ์นั้นมีอยู่น้อยมากๆ ดังนั้นหากจะว่าจ้างให้ใครมาทำเสาเข็มเจาะให้ก็ควรที่จะดูให้ดีก่อนการตัดสินใจเลือกใช้งานก็จะเป็นการดีนะครับ
3. หากทำการเจาะสำรวจดินจะพบว่าชั้นดินของเรานั้นมีลักษณะดังที่ผมได้กล่าวอธิบายไป ดังนั้นหากว่าเป็นไปได้ ทางผู้รับทำการเจาะสำรวจดินอาจจะให้คำแนะนำในเบื้องต้นในรายงานผลการเจาะสำรวจดินไว้สักเล็กน้อยก็ไม่น่าจะเสียหายอะไรนักนะครับ เพราะ การให้ COMMENTARY ดังกล่าวจะมีประโยชน์มากๆ ต่อทุกๆ ฝ่ายโดยเฉพาะเจ้าของงาน
4. หากว่าเราต้องทำการเจาะเสาเข็มลงไปในดินที่มีลักษณะแบบนี้วิธีในการแก้ปัญหาก็ควรที่จะทำอย่างไรก็ได้ครับ ให้การเจาะสามารถที่จะผ่านชั้นดินอ่อนนี้ไปให้ได้
5. หากว่าในโครงการก่อสร้างแห่งนี้ มีการเลือกใช้งานเสาเข็มสปันไมโครไพล์ ก็จะไม่พบกับปัญหาเช่นนี้อย่างแน่นอนนะครับ
หวังว่าความรู้และประสบการณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากและแชร์ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
☎ 063-889-7987
☎ 082-790-1447
☎ 082-790-1448
☎ 082-790-1449
#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์
#เสาเข็ม
#ตอกเสาเข็ม
#micropile
#spunmicropile
#microspunpile
#spunpile
#microspun