วิธีในการคำนวณหาค่าระยะการเสียรูปของโครงสร้างโครงถักโดยวิธี CASTIGLIANO’S 2ND THEOREM
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมได้ทำการอธิบายถึงวิธีในการคำนวณหาค่าระยะการเสียรูปของโครงสร้างโครงถักโดยวิธี CASTIGLIANO’S 2ND THEOREM ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทดสอบดูซิว่าเพื่อนๆ ทุกคนจะมีความเข้าใจและสามารถนำหลักการที่ผมได้อธิบายไปประยุกต์ใช้ได้ดีเพียงใด โดยที่ปัญหาที่ผมจะขอเชิญชวนให้เพื่อนๆ ทุกๆ คนได้มาร่วมสนุกตอบคำถามประจำสัปดาห์ไปด้วยกันนั้นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ในรูปๆ นี้จะเป็นรูปโครงข้อหมุนที่มีช่วงพาดเป็นแบบง่าย หรือ SIMPLE SPAN TRUSS ที่มีการรับ น้ำหนักกระทำแบบจุด หรือว่า CONCENTRATED LOAD ที่ตำแหน่งจุดต่อ D ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบมีค่าเท่ากับ 20 TONS และ 8 TONS ตามลำดับ หากว่าผมทำการกำหนดให้ค่า อัตราส่วนการคูณกันระหว่างค่าโมดูลัสยืดหยุ่นกับค่าพื้นที่ของหน้าตัด หรือว่าค่า EA นั้นมีค่าเท่ากับ 9000 T โดยที่ในแต่ละชิ้นส่วนนั้นจะมีค่า ผลการคูณกันระหว่างค่าโมดูลัสยืดหยุ่นกับค่าพื้นที่ของหน้าตัด จริงๆ ดังที่ได้แสดงอยู่ภายในรูป จากข้อมูลทั้งหมดข้างต้น จงทำการคำนวณหาว่าค่า ระยะการเสียรูปใน แนวดิ่ง หรือ VERTICAL DISPLACEMENT และค่าระยะการเสียรูปใน แนวราบ หรือ HORIZONTAL DISPLACEMENT ที่ตำแหน่งจุดต่อ D นั้นจะมีค่าเท่ากับเท่าใด ?
ปล จริงๆ แล้วปัญหาข้อนี้ก็ยังน่าที่จะเหมาะสำหรับคนที่เป็นวิศวกรโยธาโดยเฉพาะวิศวกรโครงสร้างแต่หากว่าเพื่อนๆ ท่านใดที่ไม่ได้อยู่ในสายงานดังกล่าวแต่อยากที่จะทดลองทำการคำนวณหาคำตอบดู ผมก็ขอเชิญชวนเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านให้มาร่วมสนุกตอบคำถามข้อนี้ไปพร้อมๆ กันนะครับ
ยังไงเพื่อนๆ อย่าลืมนะครับ กติกาของการร่วมสนุกในเกมๆ นี้คือก่อนที่จะตอบ เพื่อนๆ จะต้องแจ้งอีเมลล์ของเพื่อนๆ ก่อนเสมอนะครับ มิเช่นนั้นผมจะถือว่าผิดกติกานะครับ ทั้งนี้เพื่อนๆ ยังสามารถที่จะให้เหตุผลต่างๆ หรือ อาจจะทำการสเก็ตช์ภาพประกอบคำตอบเพื่อใช้อธิบายเพิ่มเติมได้ แล้วยังไงวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยคำถามข้อนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบพร้อมๆ กันนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันเสาร์
#การตั้งQUIZทางวิชาการประจำสัปดาห์
#ปัญหาการคำนวณหาค่าการโก่งตัวในแนวดิ่งและแนวราบของโครงข้อหมุนที่มีช่วงพาดเป็นแบบง่าย
ref source:
https://www.facebook.com/bhumisiam/
ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
Mr.Micropile
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
☎ 081-634-6586
☎ 082-790-1447
☎ 082-790-1448
☎ 082-790-1449