ตอบปัญหาการคำนวณหาระยะความยาวประสิทธิผลเพื่อนำมาใช้ในการออกแบบหน้าตัดเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

กลับมาพบกันในทุกๆ วันเสาร์แบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ถาม-ตอบชวนสนุก” กันนะครับ

โดยที่ในวันนี้ประเด็นที่ผมได้เลือกนำเอามาตั้งเป็นคำถามประจำสัปดาห์นั้นจะมีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ดีๆ เพื่อคุณผู้หญิง ที่ผมได้ทำการโพสต์ถึงในสัปดาห์ที่ผ่านมาและก็เหมือนเช่นเคยผมคงจะต้องออกตัวอีกครั้งหนึ่งว่า คำถามประจำสัปดาห์นี้สุดแสนจะง่ายมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยที่โจทย์ในวันนี้ก็คือ


ในรูปๆ นี้เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่าเป็นรูปตัดที่จะแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก C1 ที่มีการใช้งานอยู่ภายในอาคารสนามกีฬาแห่งหนึ่ง ซึ่งหากดูจากรูปตัดที่ 1 ก็จะสามารถมองเห็นเสา C1 ในระนาบของแกน X และหากดูจากรูปตัดที่ 2 ก็จะสามารถมองเห็นเสา C1 ในระนาบของแกน Y ซึ่งหากสังเกตดูดีๆ ก็จะพบว่าในทั้งสองระนาบนี้จะมีคุณสมบัติของการยึดรั้งที่มีความแตกต่างกันออกไปด้วยนะครับ

คำถามในวันนี้ก็สุดแสนที่จะง่ายดายมากๆ เลยนั่นก็คือ หากผมต้องการที่จะทำการออกแบบหน้าตัดของโครงสร้างเสา C1 นี้ ผมอยากที่จะให้เพื่อนๆ ทุกๆคน ช่วยกันคำนวณหาว่า ค่าระยะความยาวที่ไม่มีการยึดรั้งทางด้านข้างของเสาทั้งในระนาบของแกน X หรือ Lux และระนาบของแกน Y หรือ Luy นั้นมีค่าเท่ากับเท่าใด พร้อมกันกับ ค่าตัวคูณเพื่อหาความยาวประสิทธิผล “ตามทฤษฎี” และ “ที่แนะนำให้ใช้ในการออกแบบ” ในระนาบของแกน X หรือ Kx และค่าตัวคูณเพื่อหาความยาวประสิทธิผล “ตามทฤษฎี” และ “ที่แนะนำให้ใช้ในการออกแบบ” ในระนาบของแกน Y หรือ Ky ของเสา C1 ต้นนี้ด้วยว่ามีค่าเท่ากับเท่าใดนะครับ

ทั้งนี้เพื่อนๆ ยังสามารถที่จะให้เหตุผลต่างๆ หรือ อาจจะทำการสเก็ตช์ภาพประกอบคำตอบเพื่อใช้อธิบายเพิ่มเติมได้ แล้วยังไงวันพรุ่งนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยคำถามข้อนี้ให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนได้รับทราบพร้อมๆ กันนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำถามในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันเสาร์
#ถามตอบชวนสนุก
#ปัญหาการคำนวณหาระยะความยาวประสิทธิผลเพื่อนำมาใช้ในการออกแบบหน้าตัดเสาคสล
ADMIN JAMES DEAN


คำตอบ

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย หากเพื่อนๆ ได้มีโอกาสย้อนกลับไปอ่านโพสต์ของผมเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่าคำถามข้อนี้นั้นง่ายมากๆ เลยใช่มั้ย ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำการพิจารณาไปพร้อมๆ กนว่าค่าระยะความยาวที่ไม่มีการยึดรั้งทางด้านข้างของเสาทั้งในระนาบของแกน X หรือ Lux และระนาบของแกน Y หรือ Luy นั้นมีค่าเท่ากับเท่าใด พร้อมกันกับ ค่าตัวคูณเพื่อหาความยาวประสิทธิผล “ตามทฤษฎี” และ “ที่แนะนำให้ใช้ในการออกแบบ” ในระนาบของแกน X หรือ Kx และค่าตัวคูณเพื่อหาความยาวประสิทธิผล “ตามทฤษฎี” และ “ที่แนะนำให้ใช้ในการออกแบบ” ในระนาบของแกน Y หรือ Ky ของเสา C1 ต้นนี้ด้วยว่ามีค่าเท่ากับเท่าใดนะครับ


ก่อนอื่นเรามาเริ่มต้นทีละแกนโดยอาจะเริ่มต้นในระนาบของแกน X ก่อนก็ได้ ซึ่งหากเราพิจารณาจากรูปตัดที่ 1 และ 2 แล้วเราก็จะพบว่าที่ตำแหน่งของพื้นชั้นล่างและพื้นชั้นสองในระนาบนี้จะถูกค้ำยันทางด้านข้างเอาไว้ทั้งใน 3 ทิศทาง ด้วยโครงสร้างคาน และ พื้น คสล ดังนั้นเราอาจจะพิจารณาให้ที่ตำแหน่งจุดต่อเหล่านี้มีคุณสมบัติเสมือนเป็นจุดต่อแบบ FIXED ซึ่งเราสามารถที่จะทำการออกแบบรายละเอียดต่างๆ ของจุดต่อเหล่านี้ให้มีความแข็งแรงที่มากเพียงได้ในภายหลัง ต่อมาหากเราทำการพิจารณาระยะความยาวระหว่างความสูงระหว่างพื้นชั้นล่างและพื้นชั้นสองในระนาบนี้ก็จะพบว่า ที่ตำแหน่งกึ่งกลางของความยาวนี้จะถูกค้ำยันทางด้านข้างเอาไว้ด้วยโครงสร้างคาน คสล เหมือนกันกับที่พื้นชั้นล่างและพื้นชั้นสองแต่ก็จะเห็นได้ว่าไม่มีโครงสร้างพื้นหรือโครงสร้างอื่นๆ มาช่วยในการค้ำยันเลย เราจึงอาจจะทำการพิจารณาให้เจ้าโครงสร้างคาน คสล นี้มีคุณสมบัติเสมือนเป็นจุดต่อแบบ HINGED ที่จะมาทำหน้าที่ในการค้ำยันโครงสร้างเสา C1 ที่ตำแหน่งกึ่งกลางนี้ก็ได้ ดังนั้นค่าระยะความยาวที่ไม่มีการยึดรั้งทางด้านข้างของเสาทั้งในระนาบของแกน X หรือ Lux ก็จะมีค่าเท่ากับ 5.00 M และหากเปิดดูรูปจากในตารางก็จะพบว่า ค่าตัวคูณเพื่อหาความยาวประสิทธิผล “ตามทฤษฎี” และ “ที่แนะนำให้ใช้ในการออกแบบ” ในระนาบของแกน X หรือ Kx นั้นก็จะมีค่าเท่ากับ 0.70 และ 0.80 ตามลำดับนะครับ

เรามาต่อกันที่ในระนาบของแกน Y กันบ้างนะ ซึ่งหากเราพิจารณาจากรูปตัดที่ 1 และ 2 แล้วเราก็จะพบว่าที่ตำแหน่งของพื้นชั้นล่างและพื้นชั้นสองในระนาบนี้จะถูกค้ำยันทางด้านข้างเอาไว้ทั้งใน 3 ทิศทาง ด้วยโครงสร้างคาน และ พื้น คสล ดังนั้นเราอาจจะพิจารณาให้ที่ตำแหน่งจุดต่อเหล่านี้มีคุณสมบัติเสมือนเป็นจุดต่อแบบ FIXED ซึ่งเราสามารถที่จะทำการออกแบบรายละเอียดต่างๆ ของจุดต่อเหล่านี้ให้มีความแข็งแรงที่มากเพียงได้ในภายหลัง ต่อมาหากเราทำการพิจารณาระยะความยาวระหว่างความสูงระหว่างพื้นชั้นล่างและพื้นชั้นสองในระนาบนี้จะพบว่า ไม่มีการค้ำยันทางด้านข้างเอาไว้ด้วยโครงสร้างคาน คสล เหมือนกันกับในระนาบของแกน X แล้ว ดังนั้นค่าระยะความยาวที่ไม่มีการยึดรั้งทางด้านข้างของเสาทั้งในระนาบของแกน Y หรือ Luy ก็จะมีค่าเท่ากับ 10.50 M และหากเปิดดูรูปจากในตารางก็จะพบว่า ค่าตัวคูณเพื่อหาความยาวประสิทธิผล “ตามทฤษฎี” และ “ที่แนะนำให้ใช้ในการออกแบบ” ในระนาบของแกน Y หรือ Ky นั้นก็จะมีค่าเท่ากับ 0.50 และ 0.65 ตามลำดับนะครับ
ถึงแม้ว่าค่าระยะความยาวที่ไม่มีการยึดรั้งทางด้านข้างของเสาทั้งในระนาบของแกน X นั้นจะมีค่าที่น้อยกว่าแกน Y แต่ในทางกลับกันก็จะมีค่าตัวคูณเพื่อหาความยาวประสิทธิผล “ตามทฤษฎี” และ “ที่แนะนำให้ใช้ในการออกแบบ” ที่มากกว่าด้วย

ดังนั้นภายในขั้นตอนนี้ยังเร็วเกินไปที่จะฟันธงลงไปว่าโครงสร้างเสาต้นนี้จะมีโอกาสที่จะเกิดการโก่งเดาะรอบแกนใดมากกว่ากัน หรือ แกนใดที่จะเป็นแกนที่มีความแข็งแรงมากกว่า หรือ STRONG AXIS และ แกนใดจะเป็นแกนที่มีความแข็งแรงน้อยกว่า หรือ WEAK AXIS นั่นเป็นเพราะว่ายังขาดไปขั้นตอนหนึ่งที่มีความจำเป็นที่จะต้องทำในการออกแบบโครงสร้างเสานั่นก็คือ เรายังไม่ได้ทำการกำหนดขนาดของความกว้างของเสาในแต่ละแกนออกมา ซึ่งหลังจากขั้นตอนการคำนวณนี้เองวิศวกรผู้ออกแบบก็จะสามารถทราบข้อมูลที่มีความจำเป็นแล้วว่า ขนาดดังกล่าวของโครงสร้างเสานั้นควรที่จะใช้เท่ากับเท่าใดดี จึงจะทำให้โครงสร้างเสาต้นนี้สามารถที่จะทำการก่อสร้างออกมาได้โดยง่าย มีความปลอดภัยและมีความประหยัดมากที่สุดนั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านจากคำตอบในวันนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
#โพสต์ของวันอาทิตย์
#ถามตอบชวนสนุก
#ตอบปัญหาการคำนวณหาระยะความยาวประสิทธิผลเพื่อนำมาใช้ในการออกแบบหน้าตัดเสาคสล
ADMIN JAMES DEAN


Bhumisiam (ภูมิสยาม)

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) 

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile และเสาเข็มไอไมโครไพล์ I Micropile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กแบบแรงเหวี่ยง มอก.397-2562 และมาตรฐานเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จ มอก.396-2549 การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน ทดสอบการรับน้ำหนักโดยวิธี Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

เสาเข็มไอ ไมโครไพล์ (I Micropile)
1) I-18 รับนน. 15-20 ตัน/ต้น
2) I-22 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
3) I-26 รับนน. 30-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มสี่เหลี่ยม สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)
4) S18 รับนน. 18-22 ตัน/ต้น
5) S23 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
 
เสาเข็มกลม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)
6) Dia.21 รับนน. 20-25 ตัน/ต้น
7) Dia.25 รับนน. 25-35 ตัน/ต้น
8) Dia.30 รับนน. 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)


สอบถามเพิ่มเติมได้ 24ชม. ทุกวันค่ะ
☎️ 082-790-1447 
☎️ 082-790-1448 
☎️ 082-790-1449 
☎️ 091-9478-945 
☎️ 091-8954-269 
📲 https://lin.ee/hum1ua2
📥 https://m.me/bhumisiam