บล็อค บทความเพื่อให้ความรู้ เกร็ดความรู้ ทางด้านวิศวกรรมการก่อสร้างและฐานรากด้วยเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาและตอบโจทย์การก่อสร้างได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
บทความใหม่ๆ อัพเดทบนเพจ ภูมิสยาม ไมโครไพล์ http://bit.ly/2O6GBMu

วิธีในการดูแลรักษาโครงสร้างเหล็กที่เหมาะสม

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ วันนี้ผมจะขอนำเอาภาพและปัญหาจากกรณีจริงๆ ของโครงสร้างที่จัดอยู่ในประเภทโครงสร้างเหล็ก ซึ่งสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุเลยนะครับ เช่น ผู้ออกแบบอาจจะเลือกใช้ขนาดความหนาของชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กที่มีความบางมากจนเกินไป โดยที่ผิวของเหล็กนั้นอาจจะไม่ได้รับการป้องกันไม่ให้เกิดสนิมดีเพียงพออีกต่างหาก ผนวกกับการที่โครงสร้างดังกล่าวอาจจะไม่ได้รับการตรวจสอบและดูแลดีเพียงพอจนในที่สุดเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ เข้า เนื้อเหล็กนั้นก็เกิดการกร่อนและเสียหายในที่สุด เป็นต้น โดยเหตุผลที่ผมนำเอาปัญหาข้อนี้มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนก็เพื่อให้เพื่อนๆ ดูเอาไว้เป็นตัวอย่างและพึงระวังถึงปัญหาๆ … Read More

การตอกเสาเข็มไมโครไพล์ ให้ลึกถึงระดับมาตรฐาน (BLOW COUNT)

การจะดูว่าการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดว่าเสร็จสิ้นเรียบร้อยตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปในดินเท่านั้น แต่จะต้องดูจำนวนครั้งในการตอกด้วย (Blow Count) ว่าเสาเข็มแต่ละต้นใช้จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็มจมมิดดิน ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยังไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะเป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงกันข้ามถ้าจำนวนครั้งในการตอกมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้นจะยังจมไม่มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องตอกต่อลงไปอีก เพราะการฝืนตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็มแต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม และความยาวของเสาเข็มนั้น ๆ  

วิธีกำลังในการออกแบบโครงสร้าง คสล

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ สืบเนื่องจากเมื่อวานนี้ผมได้โพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง จุดหมุนพลาสติก (PLASTIC HINGED) นะครับ ก็มีเพื่อนของผมท่านหนึ่งได้สอบถามมาด้วยคำถามที่สุดแสนจะคลาสสิคมากๆ คำถามหนึ่งว่า “ หากผมต้องการที่จะทำการออกแบบโครงสร้าง … Read More

ประเภทของแรงเค้นกันต่อ

สวัสดีครับเพื่อนๆ ที่รักทุกท่าน มาต่อจากเนื้อหาเมื่อวันก่อนที่ผมได้อธิบายไปถึงประเภทของแรงเค้นกันต่อนะครับ โดยหากจำแนกประเภทของแรงกระทำหลักๆ ที่กระทำต่อหน้าตัดของโครงสร้างจะพบว่าประกอบด้วย (1) NORMAL FORCE (N) (2) SHEAR FORCE (V) (3) BENDING FORCE (M) (4) TORSIONAL FORCE (T) … Read More

1 123 124 125 126 127 128 129 191