ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม วิธีในการปฎิบัติงานเหล็กเสริมหลักและเหล็กเสริมรองภายในฐานรากที่ดี
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในทุกๆ วันพฤหัสบดีแบบนี้ ผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องวิศวกรรมงานฐานราก งานดินและเสาเข็ม” นะครับ เนื่องจากเมื่อประมาณสองถึงสามสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นได้มีแฟนเพจของเราท่านหนึ่งได้ให้ความกรุณาสอบถามเข้ามาผ่านทางช่องทางอินบ็อกซ์ของทางเพจในทำนองว่า “ผมขอสอบถามหน่อยนะครับว่า ตามปกติแล้วเวลาที่เราจะทำการวางเหล็กเสริมหลักหรือเหล็กเสริมรองให้ลงไปอยู่ในโครงสร้างฐานราก เราจะต้องทำการกำหนดให้เหล็กเสริมดังกล่าวนี้วางตัวอยู่บนลูกปูน ดังนั้นหากจะว่ากันตามหลักการที่ถูกต้องทางด้านงานวิศวกรรมแล้ว ไม่ทราบว่าเราสามารถที่จะทำการกำหนดให้เหล็กเสริมหลักหรือเหล็กเสริมรองที่วางตัวอยู่ในโครงสร้างฐานรากนี้ให้การวางตัวอยู่ที่ด้านบนของโครงสร้างเสาเข็มโดยตรงโดยที่ไม่ต้องมีลูกปูนมาคั่นกลาง ได้ หรือ ไม่ ครับ?” … Read More
สบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง โครงสร้างประเภทรับแรงดึงเท่านั้น
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ สืบเนื่องจากเมื่อในสองถึงสามช่วงสัปดาห์ก่อนหน้านี้ผมได้ทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเสถียรภาพของโครงสร้างของหลังคาที่ทำหน้าที่ในการป้องกันลมฝนซึ่งจะอยู่ในบริเวณส่วนด้านหลังของอาคารให้แก่เพื่อนๆ ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งในการโพสต์ดังกล่าวนั้นผมจะเน้นหนักไปที่โครงสร้างซึ่งมีความต้องการเสถียรภาพจากเรื่องแรงดัดเป็นหลัก ดังนั้นในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาหยิบยกนำเอากรณีของการออกแบบโครงสร้างซึ่งจะมีความต้องการเสถียรภาพจากเรื่องแรงดึงเป็นหลักบ้าง ซึ่งจะได้แก่โครงสร้างประเภทใดกัน วันนี้เราจะมาติดตามรับชมไปพร้อมๆ กันเลยก็แล้วกันนะครับ โครงสร้างที่ว่านี้ก็จะได้แก่โครงสร้างที่อาศัยชิ้นส่วนประเภทที่รับเฉพาะแค่เพียงแรงดึงเท่านั้นหรือ TENSION ONLY STRUCTURES ซึ่งก็อาจจะได้แก่ … Read More
การตอกเสาเข็มไมโครไพล์ ให้ลึกถึงระดับมาตรฐาน (BLOW COUNT)
การจะดูว่าการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดว่าเสร็จสิ้นเรียบร้อยตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปในดินเท่านั้น แต่จะต้องดูจำนวนครั้งในการตอกด้วย (Blow Count) ว่าเสาเข็มแต่ละต้นใช้จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็มจมมิดดิน ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยังไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะเป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงกันข้ามถ้าจำนวนครั้งในการตอกมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้นจะยังจมไม่มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องตอกต่อลงไปอีก เพราะการฝืนตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็มแต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม และความยาวของเสาเข็มนั้น ๆ
ขั้นตอนและวิธีการตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE) เสาเข็มเพื่อการต่อเติม
ขั้นตอนการตอก เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micropile) เสาเข็มเพื่อการต่อเติม เสริมฐานราก และการสร้างใหม่ -ย้ายตัวปั่นจั่นให้เข้าที่ เพื่อให้ตรงกับตำแหน่งที่จะทำการลงเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และหลังจากนั้นจะทำการทดสอบโดยการทิ้งลูกดิ่งเพื่อหาจุดศูนย์กลางว่าได้ระยะดิ่งตรงกลางระหว่าง cap pile กับหมุดศูนย์ที่กำหนดไว้หรือไม่ -ทิ้งลูกดิ่งเพื่อหาจุดศูนย์กลางว่าได้ระยะดิ่งตรงกลางระหว่าง cap pile กับหมุดศูนย์ที่กำหนดไว้หรือไม่ -นำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนแรกไปวางในตำแหน่งที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องโดยการจับระดับด้วยมาตรวัดระดับน้ำเพื่อให้ได้แนวดิ่ง ทั้งแกน … Read More