ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมต้องขออนุญาตโพสต์ให้เกิดความต่อเนื่องจากเมื่อวานกันอีกสักหนึ่งโพสต์นะครับ เพราะว่าประเด็นที่ผมได้นำมาหยิบยกเป็นกรณีศึกษาเมื่อวานนี้ค่อนข้างที่จะมีความเร่งด่วนสำหรับน้องที่ได้มาปรึกษาผมถึงประเด็นปัญหาๆ นี้ ดังนั้นในวันนี้เรายังคงจะต้องพูดถึงเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ อยู่นะครับ ยังไงผมต้องขออนุญาตทำการเท้าความโดยย่อสักเล็กน้อยก่อนนะครับ เผื่อว่าจะมีเพื่อนๆ ท่านใดที่อาจจะไม่ได้มีโอกาสอ่านโพสต์ของเมื่อวานแต่ได้มาอ่านโพสต์ของผมในวันนี้ จะได้ไม่งงว่าเกิดอะไรขึ้น ซึ่งเรื่องมีอยู่ว่าน้องบนเฟซบุ้คของผมท่านหนึ่งได้อินบ็อกซ์เข้ามาเพื่อปรึกษาเรื่องป้ายโฆษณาป้ายหนึ่งซึ่งมีความสูงจากพื้นดินประมาณ 7500 มม หรือ 7.50 เมตร พอผมได้เห็นลักษณะและรูปร่างจากรูปถ่ายแล้วก็เลยได้สอบถามไปยังน้องท่านนี้ถึงกรณีของจุดรองรับของโครงสร้างดังกล่าวว่ามีลักษณะเป็นเช่นใด … Read More
การทดสอบค่าการยุบตัวของคอนกรีต (CONCRETE SLUMP TEST)
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ วันนี้ผมมีเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการทำงานคอนกรีต แต่ ก็ถือได้ว่ามีความสำคัญมากๆ อย่างละเลยไม่ได้เลยนะครับ นั่นก็คือ การทดสอบค่าการยุบตัวของคอนกรีต (CONCRETE … Read More
การคำนวณหาค่าการทรุดตัวของเสาเข็ม ในกรณีที่โครงสร้างเสาเข็มเป็นเสาเข็มเดี่ยว
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน กลับมาพบกันในทุกๆ วันพุธแบบนี้อีกครั้งหนึ่งซึ่งผมก็จะมาพบกับเพื่อนๆ เพื่อที่จะพูดคุยกันถึงหัวข้อ “ความรู้ดีๆ เรื่องประสบการณ์งานคำนวณออกแบบและการก่อสร้าง” นะครับ ตามที่ผมได้แจ้งเอาไว้กับเพื่อนๆ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าวันนี้ผมอยากจะขออนุญาตหยิบยกและนำเอาตัวอย่างของการคำนวณหาค่าการทรุดตัวของเสาเข็ม ในกรณีที่โครงสร้างเสาเข็มของเรานั้นเป็นเสาเข็มเดี่ยวให้เพื่อนๆ ได้รับชมกัน ดังนั้นวันนี้ผมจึงจะขอหยิบยกเอากรณีของการคำนวณจริงๆ ที่ผมเคยทำเอาไว้เพื่อที่จะใช้ในการตรวจสอบหาค่าการทรุดตัวของเสาเข็มมาใช้เป็นตัวอย่าง โดยผมขอสรุปปัญหาและข้อมูลให้เพื่อนๆ ได้ทราบดังต่อไปนี้นะครับ ผมมีเสาเข็มไมโครไพล์ต้นหนึ่งดังแสดงอยู่ในรูปที่ 1 ซึ่งเสาเข้มต้นนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ … Read More
สาเหตุของปัญหา ผนังก่ออิฐที่มีรอยแตกร้าว
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการเฉลยและมา DISCUSS ร่วมกันกับเพื่อนๆ ถึงประเด็นคำถามที่ผมได้ฝากเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวานนั่นก็คือ จากรูปหากดูผิวเผินอาจจะเห็นได้ว่าในรูปๆ นี้จะเป็นผนังก่ออิฐที่มีรอยแตกร้าวซึ่งก็อาจจะพบเห็นได้ทั่วๆ ไปเลยนะครับ แต่หากผมจะบอกกับเพื่อนๆ … Read More