วิธีการแก้ปัญหาในกรณีที่ในการทำงานการตอกเสาเข็มนั้นไม่เป็นไปตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดไว้

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ รวมไปถึงน้องวิศวกรท่านหนึ่งที่เคยฝากคำถามกับผมเกี่ยวกับเรื่อง วิธีการแก้ปัญหาในกรณีที่ในการทำงานการตอกเสาเข็มนั้นไม่เป็นไปตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดไว้ นะครับ โดยที่ผมได้ทำการเขียนรูป ตย มาเพื่อที่จะทำการอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ได้รับชมกันในการอธิบายครั้งนี้ด้วยนะครับ ในรูป (A) เป็นรูปการวางตำแหน่งของเสาเข็มตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดเอาไว้ในแบบ โดยจะสังเกตได้ว่าส่วนใหญ่แล้วผู้ออกแบบมักที่จะทำการกำหนดให้ระยะห่างระหว่างศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของเสาเข็มนั้นมีระยะไม่น้อยกว่า หรือ เท่ากับ 3 เท่าของ D โดยที่ D … Read More

ปัญหาที่มักจะเกิดในทุกๆ ครั้งที่เราทำการออกแบบและก่อสร้าง โครงสร้างเหล็กโครงถัก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน วันนี้ผมอยากจะขออนุญาตมาตอบคำถามของเพื่อนๆ ที่ถามผมเกี่ยวกับโพสต์ก่อนหน้านี้ว่า “ในการออกแบบโครงเหล็กแบบนี้เรามักที่จะทำการตั้งสมมุติฐานว่าจุดต่อนั้นเป็นแบบยึดหมุน (PINNED) แต่ ในงานก่อสร้างจริงๆ เรามักจะทำการก่อสร้างโดยการเชื่อมโดยรอบ สิ่งนี้จะทำให้จุดต่อนั้นกลายเป็นแบบยึดแน่น (FIXED) หรือไม่ ?” และ อีกคำถามหนึ่งที่ถามในทำนองเดียวกันว่า “โครงถักในลักษณะนี้เวลาที่ทำการวิเคราะห์โครงสร้างเราจำเป็นที่ต้องทำการ RELEASE MOMENT ด้วยหรือไม่ ?” ก่อนอื่นผมต้องขออนุญาตกล่าวคำชมเชยน้องๆ … Read More

ประโยชน์ของการใช้โปรแกรม FINITE ELEMENT ร่วมกันกับโปรแกรมอื่นๆ นั่นก็คือ AUTO CAD

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาเล่ามาแชร์ความรู้แก่เพื่อนๆ เกี่ยวกับเนื้อหาเบาๆ เกี่ยวกับเรื่อง ประโยชน์ของการใช้โปรแกรม FINITE ELEMENT ร่วมกันกับโปรแกรมอื่นๆ ที่เพื่อนทั่วๆ ไปน่าที่จะมีความคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว นั่นก็คือ AUTO CAD นั่นเองครับ โดย CASE STUDY ที่ผมนำมาใช้ประกอบในการอธิบายครั้งนี้คืองานในอดีตที่ผมเคยทำเอาไว้นะครับ งานๆ … Read More

วิธีแก้ไข กรณีที่เสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ เป็นผลทำให้ตำแหน่ง CENTER OF GRAVITY ของกลุ่มเสาเข็มในตัวโครงสร้างของฐานราก ไม่ตรงกันกับตำแหน่งของตอม่อ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน ผมจะขออนุญาตมาแชร์ความรู้ให้แก่เพื่อนๆ ต่อจากเมื่อวานกันนะครับ อย่างที่ผมได้อธิบายไปเมื่อวานแล้วนะครับว่าโดยปกติแล้ว ผู้ออกแบบมักที่จะทำการออกแบบให้ตำแหน่ง CENTER OF GRAVITY กลุ่มของเสาเข็มนั้นตรงกันกับตำแหน่งของตัวเสาตอม่อ ในวันนี้ผมจึงอยากที่จะขอมาพูดถึงวิธีในการแก้ไขสำหรับกรณีที่เสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ไปจนเป็นผลทำให้ตำแหน่ง CENTER OF GRAVITY ของกลุ่มเสาเข็มในตัวโครงสร้างของฐานรากนั้นไม่ตรงกันกับตำแหน่งของตอม่อนะครับ จริงๆ แล้วปัญหาที่อาจเกิดขึ้นที่จะมีความเกี่ยวข้องกับการใช้งานเสาเข็มตอกนั้นอาจมีด้วยกันมากมายหลายประการนะครับ เช่น แรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากการตอกที่เกิดขึ้นกับอาคารข้างเคียง เสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ หรือ เสาเข็มเกิดการแตกหัก … Read More

หลักเกณฑ์ในการทำการพิจารณาเพื่อทำการคำนวณ แก้ไขงานโครงสร้างของฐานราก เมื่อเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ไป

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน ผมจะขออนุญาตมาแชร์ความรู้ให้แก่เพื่อนๆ ได้ทราบถึงกรณีที่เรามีการก่อสร้างงานวิศวกรรมโครงสร้างฐานรากและเกิดปัญหาเรื่องเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์นะครับ โดยในวันนี้ผมจะขอทำการพูดถึงหลักเกณฑ์ในการทำการพิจารณาเพื่อทำการคำนวณเพื่อแก้ไขงานโครงสร้างของฐานรากเมื่อเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ไปนะครับ ในสถานการณ์ปกติหากว่ามีการทำการก่อสร้างโครงสร้างฐานรากและจำเป็นที่จะต้องใช้ระบบโครงสร้างเป็นเสาเข็ม ไม่ว่าจะเป็น เสาเข็มตอก หรือ เสาเข็มเจาะ และ หากเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ไปจากตำแหน่งเดิมที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดไว้ เราจำเป็นที่จะต้องมีการคำนวณเพื่อทำการตรวจสอบรายการคำนวณซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ นะครับ (1) ตัวโครงสร้างของเสาเข็ม ในบางครั้งเมื่อเสาเข็มเกิดการเยื้องศูนย์ไป อาจจะทำให้แรงปฏิกิริยาในเสาเข็มนั้นเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการการคำนวณและตรวจสอบแรงปฏิกิริยาในตัวโครงสร้างของเสาเข็มที่สภาวะการใช้งานว่าค่าๆ … Read More

วิธีในการวิเคราะห์โครงสร้าง (STRUCTURAL ANALYSIS) โดยวิธีประมาณการ (APPROXIMATE METHOD)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ ให้ได้ทราบกันถึงวิธีในการวิเคราะห์โครงสร้าง (STRUCTURAL ANALYSIS) โดยวิธีประมาณการ (APPROXIMATE METHOD) นะครับ โดยในวันนี้โครงสร้างที่ผมจะมากล่าวถึงนั้นก็คือโครงสร้างโครงข้อแข็ง (PORTAL FRAME) กันนะครับ โดยปกติแล้วโครงสร้าง PORTAL FRAME นั้นมักที่จะถูกใช้เป็นองค์อาคารหลักของโครงสร้างเพื่อทำการถ่ายแรงกระทำ ทางด้านข้างของโครงสร้างซึ่งมักจะเกิดจากแรงลมหรือแรงแผ่นดินไหวให้ถ่ายลงไปสู่ตัวฐานรากของโครงสร้าง ซึ่งเราสามารถที่จะทำการจำแนกการวิเคราะห์โครงสร้าง … Read More

หลักการของการบดอัดดิน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ช่วงนี้ผมมีงานที่เกี่ยวข้องกับการถมดินอยู่หลายตัวเลยนะครับ และ ผมได้สังเกตและพบเห็นว่าเพื่อนร่วมงานหลายๆ คนอาจจะเคยมีข้อสงสัยว่า หากเราทำการถมดินแล้วทำการบดอัดดิน เราจะต้องทำการบดอัดดิน มาก หรือ นาน เท่าใด กว่าที่ดินของเราจะสามารถรับกำลังได้ กว่าที่ดินของเราจะมีค่าการทรุดตัวที่ถือว่าเหมาะสมต่อการรับ นน ของเรา คำตอบของคำถามข้อนี้ คือ เราก็ควรที่จะต้องทำการทดสอบดินที่เราทำการบดอัดเสียก่อนนะครับ ทั้งนี้ก็เพื่อที่เราจะสามารถทราบได้ว่าคุณสมบัติของดินนั้นเป็นอย่างไร … Read More

พรีวิวซอฟต์แวร์ STAAD RCDC

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เมื่อวานผมมีโอกาสได้ไปสัมมนาที่จัดขึ้นโดยบริษัท REI SOFTWARE และ BENTLEY ค่ายเจ้าของซอฟต์แวร์ทาง FINITE ELEMENT ดังมากมายอย่าง STAAD.PRO และ RAM STRUCTURAL CONCEPT เป็นต้น ในงานเป็นการแนะนำให้รู้จักกันกับซอฟต์แวร์ตัวใหม่ล่าสุดของทางค่ายนั่นก็คือ STAAD RCDC … Read More

ความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องทำการวิเคราะห์โครงสร้างจุดรองรับให้เป็นแบบฐานรากยืดหยุ่น (ELASTIC FOUNDATION)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตเพื่อนๆ มาอธิบายถึงความสำคัญและความจำเป็นที่เราจะต้องทำการวิเคราะห์โครงสร้างจุดรองรับให้เป็นแบบฐานรากยืดหยุ่น (ELASTIC FOUNDATION) ซึ่งน่าที่จะพออธิบายถึงหลักการและเหตุผลให้แก่เพื่อนๆ ได้พอทราบว่าเหตุใดเราจึงจะต้องทำการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยหลักการนี้ได้นะครับ เพื่อนๆ อาจจะมีความสงสัยเกิดขึ้นนะครับว่าเพราะเหตุใด เราจึงจำเป็นที่จะต้องทราบและเข้าใจถึงหลักการออกแบบวิธีการนี้กัน ? และเมื่อใดกันที่เราควรจะนำวิธีการนี้มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ หรือ วิเคราะห์โครงสร้างของเรา ? คำตอบก็ง่ายๆ และตรงไปตรงมานะครับ คือ หากเราจำเป็นที่จะต้องทำการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างชนิดที่มีจุดรองรับนั้นมีความแข็งแกร่งไม่มากนัก … Read More

การใช้งาน NON-SHRINK GROUT เพื่อซ่อมแซมชิ้นส่วนโครงสร้างคอนกรีต

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากในช่วงนี้ผมได้มีโอกาสไปตรวจการทำงานของ ผรม ที่หน้างาน โดยในการทำงานของ ผรม นั้นมีการใช้งาน NON-SHRINK GROUT เพื่อซ่อมแซมชิ้นส่วนโครงสร้างคอนกรีตด้วยครับ ผมเห็นว่าหากนำความรู้เรื่องนี้มาเผยแพร่ ก็น่าที่จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ด้วยนะครับ วัสดุนอนชริ้งเกร้าท์ หรือ NON-SHRINK GROUT ก็คือ วัสดุซีเมนต์ผสมพิเศษที่ให้ค่าการรับกำลังอัดที่สูงมาก … Read More

1 21 22 23 24 25 26 27 34