วิธีในการถ่ายน้ำหนัก ของแผ่นพื้นลงบนคานรองรับทั้ง 4 ด้าน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาตอบคำถามของน้องวิศวกรท่านหนึ่งที่ถามผมมาเกี่ยวกับเรื่องกรณีที่เรามีแผ่นพื้นที่มีการถ่าย นน แบบ 2 ทิศทาง โดยประเด็นนั้นอยู่ที่วิธีในการถ่าย นน ของแผ่นพื้นลงบนคานรองรับทั้ง 4 ด้าน นะครับ ก่อนอื่นผมขอเล่าให้ฟังถึงรายละเอียดที่มาที่ไปของประเด็นที่น้องท่านนี้ถามผมมาก่อนนะครับ ประเด็นมีอยู่ว่าน้องวิศวกรท่านนี้ได้ทำการถ่าย นน จากพื้นลงมายังคานที่ทำหน้าที่ีรองรับทั้ง 4 ด้าน แต่ … Read More

ข้อกำหนดในการออกแบบ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันี้ผมมีเรื่องที่จะมาแชร์ประสบการณ์กันกับเพื่อนๆ ประการหนึ่งที่หากดูเผินๆ แล้วก็อาจจะเป็นเรื่องเป็นราวตามปกติที่วิศวกรโครงสร้างอย่างเราๆ ต้องพบต้องเจอ แต่ ผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนหลายๆ ท่านที่กำลังเริ่มต้นสนใจที่จะทำงานในสายงานของการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างนะครับ เรื่องนี้สืบเนื่องหลังจากที่ในวันนี้ผมเดินทางไปพบลูกค้ากับสถาปนิกคู่ใจของผมตลอดทั้งวัน พอกลับมาก็ด้วยความเหนื่อยล้าทั้งวันก็ตั้งใจจะว่าจะนั่งทำแต่งานเอกสารเบาๆ ให้สบายๆ จะได้ไม่เหน็ดเหนื่อยอะไรมากมายเพราะวันนี้ก็เหนื่อยมาทั้งวันแล้ว สักพักนึงผมก็ได้รับโทรศัพท์สายหนึ่งจากเจ้าหน้าที่เขตท่านหนึ่งที่เพิ่งเคยได้ร่วมงานกันเป็นครั้งแรก มีใจความของประโยคสนทนาดังนี้ คือ เจ้าหน้าที่ท่านนี้ต้องการให้ผมเข้าไปที่เขตเพื่อดำเนินการแก้ไขรายการคำนวณที่ได้ยื่นขออนุญาตไป เนื่องจากเอกสารที่เคยยื่นไปก่อนหน้านี้ไม่ถูกต้อง ผมก็ได้เอ่ยถามไปว่าเอกสารนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ? … Read More

หากเปลี่ยนจาก เสาตอม่อแบบเดียว (ISOLATED PIER) ไปเป็น เสาตอม่อกลุ่ม (GROUP OF PIERS)

สวัสดีครับเพื่อนๆ ที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาตอบคำถามของน้องวิศวกรท่านหนึ่งที่ถามผมต่อเนื่องจากเรื่องราวของฐานรากแผ่ที่ผมเคยโพสต์ไว้สักพักแล้วนะครับว่า “หากเราเปลี่ยนจาก เสาตอม่อแบบเดียว (ISOLATED PIER) ไปเป็น เสาตอม่อกลุ่ม (GROUP OF PIERS) จะทำให้พฤติกรรมของฐานรากนี้เปลี่ยนไปหรือไม่ ? การออกแบบนั้นจะยุ่งยากเพิ่มขึ้นมากหรือไม่ และ เราควรพิจารณาทำการออกแบอย่างไรจึงจะเหมาะสม” ก่อนอื่นผมขอชื่นชมน้องท่านนี้ก่อนนะครับว่าคำถามๆ นี้เป็นคำถามที่ดีและน่าสนใจมาก … Read More

การถ่ายน้ำหนักบรรทุกจากโครงสร้างเสา คสล ลงสู่ฐานเสาตอม่อ คสล

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขอมาตอบคำถามที่เพื่อนวิศวกรท่านหนึ่งของผมที่ได้สอบถามผมเกี่ยวกับเรื่องระยะและขนาดของการที่เราจะล้วงเหล็กเข้าไปในฐานรากซึ่งคำถามข้อนี้จะต่อเนื่องจากโพสต์ก่อนหน้านี้ของผมที่ได้โพสต์เกี่ยวกับฐานรากวางบนดินนะครับ เรื่องนี้จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องการถ่ายน้ำหนักบรรทุกจากโครงสร้างเสา คสล ลงสู่ฐานเสาตอม่อ คสล นะครับ โดยที่เสาจะทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักกระทำแบบเป็นจุดลงสู่ฐานราก น้ำหนักบรรทุกนี้จะถูกส่งผ่านโดยหน่วยแรงแบกทานในคอนกรีต (CONCRETE BEARING STRESS) และ หน่วยแรงในเหล็กเสริมบริเวณจุดต่อ เพื่อนๆ ลองคิดและจินตนาการตามผมนิดนึงนะครับ เนื่องจากขนาดพื้นหน้าตัดของคอนกรีตที่บริเวณรอยต่อของโครงสร้างเสาตอม่อ และ โครงสร้างฐานรากนี้จะมีค่าสูงกว่าพื้นที่หน้าตัดของคอนกรีตในเสา … Read More

ความคงทนของโครงสร้างคอนกรีต (DURABILITY OF CONCRETE STRUCTURES) เมื่อต้องมีการใช้งานในเขตชายฝั่งทะเล

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ช่วงนี้ผมมีงานออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างตัวหนึ่งที่ต้องไปทำการก่อสร้าง ณ เขต พท ริมชายทะเลของจังหวัดชลบุรี ในการออกแบบผมได้เลือกทำการกำหนดให้ใช้คอนกรีตชนิดพิเศษในงานก่อสร้าง ผมเห็นว่าน่าที่จะมีประโยชน์หากนำความรู้ตรงนี้มาเผยแพร่แก่ทุกๆ ท่านด้วย จึงเป็นที่มาของโพสต์ในวันนี้เกี่ยวกับเรื่อง ความคงทนของโครงสร้างคอนกรีต (DURABILITY OF CONCRETE STRUCTURES) เมื่อต้องมีการใช้งานในเขตชายฝั่งทะเลนะครับ เพื่อนๆ เคยสงสัยหรือไม่ครับ ว่าเหตุใดเราจึงมักที่จะได้ยินอยู่บ่อยๆ … Read More

สิ่งที่ QC ควรต้องทำการตรวจสอบเมื่อทางโรงงานนำเสาเข็มมาส่ง ณ หน้างาน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากวันนี้ผมได้มีโอกาสไปตรวจการทำงานของ ผรม ที่หน้างาน และ ได้ให้คำแนะนำแก่ ผรม เรื่องที่หน้างานจำเป็นจะต้องมี QC เพื่อคอยทำการตรวจรับเมื่อเสาเข็มเมื่อโรงงานนำเสาเข็มมาส่ง ณ หน้างาน ผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์จึงคิดว่านำมาฝากเพื่อนๆ ด้วยก็น่าจะเป็นการดีนะครับ สิ่งที่ QC ควรต้องทำการตรวจสอบเมื่อทางโรงงานนำเสาเข็มมาส่ง ณ หน้างานควรประกอบด้วยรายการพิจารณาต่อไปนี้นะครับ … Read More

การออกแบบโครงสร้างเหล็กที่มีสัดส่วนยื่น (CANTILEVER LENGTH) ที่ค่อนข้างมาก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากวันนี้ผมเห็นเพื่อนรุ่นพี่วิศวกรที่ผมเคารพและรักมากท่านหนึ่งได้โพสต์เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างเหล็กที่มีสัดส่วนยื่น (CANTILEVER LENGTH) ที่ค่อนข้างมาก ผมจึงได้แจ้งกับเค้าไปด้วยความเป็นห่วงถึงสิ่งที่ควรระมัดระวังในการออกแบบโครงสร้างในลักษณะแบบนี้ และ เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ด้วยจึงใคร่ขอนำมาแชร์เป็นความรู้แก่ทุกๆ ท่านด้วยนะครับ จริงๆ แล้วในการออกแบบโครงสร้างที่มีช่วงยื่นมากๆ สิ่งที่จะต้องระมัดระวังนั้นมีหลายเรื่องมากๆ นะครับ เช่น ปัญหาเรื่องเสถียรภาพของโครงสร้าง (STRUCTURAL STABILITY) เพราะ … Read More

SUPPORT ที่มีลักษณะเป็น ELASTIC SUPPORT หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็น SPRING SUPPORT

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาขอตอบคำถามให้แก่น้องวิศวกรท่านหนึ่งที่เคยสอบถามผมมาเมื่อตอนช่วงที่ผมโพสต์เกี่ยวกับเรื่อง SUPPORT ที่มีลักษณะเป็น ELASTIC SUPPORT หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็น SPRING SUPPORT นั่นเองครับ โดยคำตอบที่ผมเตรียมจะมาตอบในวันนี้ผมขอใช้วิธียก ตย ให้แก่เพื่อนๆ เลยละกันนะครับ เพื่อนๆ จะได้เข้าใจได้โดยง่าย เห็นภาพชัดๆ พร้อมๆ … Read More

Pcr หรือ CRITICAL LOAD หรือว่า BUCKLING LOAD

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขอมาตอบคำถามน้องวิศวกรท่านเดิมต่อเนื่องจากโพสต์ที่แล้วของผมนะครับ เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ผมได้กล่าวถึงเรื่อง Pcr หรือ CRITICAL LOAD หรือว่า BUCKLING LOAD ว่าเหตุใดผมถึงได้กล่าวว่าหากทำการจำลองโครงสร้างด้วย PINNED แทนที่จะเป็น SPRING ในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของเรา เหตุใดจึงทำให้ค่า Pcr มีค่าสูงกว่าการจำลองในแบบที่สองนะครับ ก่อนอื่นไหนๆ … Read More

ปัจจัยที่จะต้องคำนึงในการออกแบบความหนาของแผ่นพื้น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาตอบคำถามแก่น้องท่านหนึ่งที่มหาวิทยาลัยที่ได้ถามผมเกี่ยวกับเรื่อง เหตุใดในตำราต่างๆ จึงมักกำหนดว่าแผ่นพื้น FLAT PLATE คอร จึงต้องการความหนาโดยประมาณที่ L/40 ค่าๆ นี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ? ผมขอตอบน้องท่านนี้ดังนี้นะครับ ปัจจัยที่เราจะต้องคำนึงในการออกแบบความหนาของแผ่นพื้นนั้นจะประกอบไปด้วยสิ่งสำคัญๆ อย่างน้อย 3 ประการดังต่อไปนี้ (1) ค่าความสามารถในการต้านทานการโก่งตัว … Read More

1 22 23 24 25 26 27 28 34