การระมัดระวังไม่ให้ชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กที่เป็นโครงถักนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ออกไปผิดไปจากสมมติฐาน

การที่เราควรที่จะระมัดระวังมิให้ชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กที่เป็นโครงถักนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ออกไปผิดไปจากสมมติฐาน ที่มาของปัญหานี้ คือ เวลาที่ผู้ออกแบบทำการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (MATHEMATICAL STRUCTURAL MODEL) ขึ้นมาเพื่อทำการวิเคราะห์และออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างโครงถักเหล็ก เรามักที่จะทำการจำลองให้ตำแหน่งของศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของชิ้นส่วนโครงสร้างนั้นตรงกัน (เหมือนในรูปด้านบนนะครับ) แต่ ในสภาพความเป็นจริงเวลาที่ช่างทำการก่อสร้างโครงสร้างเหล็กมักที่จะทำงานโดยอาศัยความง่ายในการทำงานเอาไว้ก่อน ทำให้แนวศูนย์กลางของชิ้นส่วนนั้นไม่ตรงตามสมมติฐานข้อนี้ อันจะทำให้เกิดระยะเยื้องศูนย์ (ECCENTRICITY หรือ e) ขึ้นซึ่งระยะเยื้องศูนย์นี้จะทำให้เกิดแรงดัดที่ไม่ได้ตั้งใจ (UNINTENTIONAL MOMENT) … Read More

การวิเคราะห์และการประเมินโครงสร้างคาน (BEAM)

สวัสดีตอนบ่ายกันอีกเช่นเคยครับ วันนี้ Mr.เสาเข็ม ก็มาพร้อมกับ สาระความรู้ดีดีเกี่ยวกับการก่อสร้างและวิศวกรรม วันนี้จะเป็นเรื่อง การวิเคราะห์และการประเมินโครงสร้างคาน (BEAM) โดยสมมติฐานของการวิเคราะห์คานนั้นเกือบที่จะเหมือนกับโครงสร้างโครงถักนะครับ คือ ถึงแม้ว่าคานจะเป็นโครงสร้างที่ต้องรับแรงดัดเป็นหลัก แต่ ตัวคานจะมีเสถียรภาพอยู่ได้นั้นจะต้องสามารถต้านทานต่อโมเมนต์ดัดที่เกิดขึ้นภายใน (INTERNAL MOMENT) ตัวระบบโครงสร้างของคานเองได้ด้วยนะครับ หากว่าเรามีสมการตัวที่เราไม่ทราบค่า (UNKNOWN VALUES) น้อยกว่า … Read More

การพิจารณาเพื่อทำการคำนวณเพื่อแก้ไขงานโครงสร้างของฐานรากเมื่อเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์

สวัสดีครับ ช่วงบ่ายๆ แบบนี้ ก็มาอยู่กับ Mr.เสาเข็ม อีกเช่นเคย พร้อมความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างและวิศวกรรมนะครับ วันนี้จะเป็นเรื่อง การพิจารณาเพื่อทำการคำนวณเพื่อแก้ไขงานโครงสร้างของฐานรากเมื่อเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ ในสถานการณ์ปกติหากว่ามีการทำการก่อสร้างโครงสร้างฐานรากและจำเป็นที่จะต้องใช้ระบบโครงสร้างเป็นเสาเข็ม ไม่ว่าจะเป็น เสาเข็มตอก หรือ เสาเข็มเจาะ และ หากเสาเข็มนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ไปจากตำแหน่งเดิมที่ทางผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดไว้ เราจำเป็นที่จะต้องมีการคำนวณเพื่อทำการตรวจสอบรายการคำนวณซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ นะครับ (1) … Read More

การทำการทดสอบตามมาตรฐานอเมริกัน หรือ ASTM (AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS)

สวัสดีครับ Mr.เสาเข็ม ก็ได้นำความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้าง มาแชร์กันอีกแล้วนะครับ ในช่วงบ่ายแบบนี้ วันนี้ จะมาแชร์เรื่อง การทำการทดสอบตามมาตรฐานอเมริกัน หรือ ASTM (AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS) เนื่องจากว่าในการทดสอบวัสดุต่างๆ เพื่อใช้ในงานก่อสร้างนั้นจำเป็นที่จะต้องทำตามมาตรฐานที่มีความเชื่อถือได้ หนึ่งในมาตรฐานที่ว่านั้นก็คือมาตรฐาน ASTM นั่นเองครับ … Read More

เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) คืออะไร???

หลายๆคน อาจจะรู้ถึงข้อดีของ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ แต่บางคนก็ยังสงสัยว่า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) คืออะไร??? วันนี้ Mr.เสาเข็มจะมาอธิบายถึงเสาเข็มสปันไมโครไพล์กันนะครับ เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) คืออะไร??? เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (spun micro pile ) … Read More

เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยง (Spun Micro Pile) Dia 21 cm.

สวัสดีครับ วันนี้ก็มาพบกับ Mr.Spunman กันอีกเช่นเคย วันนี้ จะมาแนะนำเกี่ยวกับ เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยง (Spun Micro Pile) Dia 21 cm. กันนะครับ เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยง (Spun Micro Pile) Dia 21 cm. … Read More

คานคอดิน (GROUND BEAM) ควรอยู่สูงจากระดับพื้นดินเท่าไหร่

คานคอดิน (Ground Beam) คือส่วนประกอบโครงสร้างบนดินที่รับน้ำหนักพื้น ผนัง และสิ่งที่อยู่เหนือคานคอดินขึ้นไป แล้วจึงถ่ายน้ำหนักไปยังตอม่อและฐานรากต่อไป การก่อสร้างคานคอดิน แบ่งจากระดับความสูงจากพื้นดินได้ 2 แบบ คานคอดินวางอยู่บนระดับดิน เนื่องจากระดับพื้นชั้นล่างอยู่สูงจากระดับดินไม่มากนัก ในการก่อสร้างจึงมักทำเนินดินให้สูงเสมอท้องคานคอดิน และเทลีน (Lean) เพื่อใช้เป็นแบบหล่อท้องคานแทนการใช้ไม้แบบ และใช้ไม้แบบเฉพาะด้านข้างคานทั้งสองด้าน คานคอดินอยู่สูงจากระดับดินมากกว่า 1 … Read More

อิฐมวลเบา (LIGHTWEIGHT CONCRETE)

อิฐมวลเบา (Lightweight Concrete) คือคอนกรีตมวลเบาหรืออิฐมวลเบา เป็นวัสดุสำหรับก่อผนังสำหรับอาคารสูงหรือบ้านที่อยู่อาศัย เป็นวัสดุก่อที่นำเทคโนโลยีการผลิตมาจากต่างประเทศ มีทั้งแบบบล็อกตันและบล็อกกลวง (คล้ายคอนกรีตบล็อก) ขนาดใหญ่ แต่น้ำหนักเบามากกว่าเนื่องจากมีฟองอากาศขนาดเล็กกระจายอยู่อย่างสม่ำเสมอในเนื้อวัสดุ อิฐมวลเบามีขนาดมาตรฐาน กว้าง 20 x 20 เซนติเมตร และมีความหนาตั้งแต่ 7.5, 10, 12.5, … Read More

สารยับยั้งการเกิดสนิมของเหล็กเสริม (CORROSION INHIBITOR)

การเกิดสนิมของเหล็กเสริมในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งรอยแตกร้าว คราบน้ำสนิม การหลุดร่อนของคอนกรีต รวมไปถึงการพังทลายของโครงสร้าง ความเสียหายที่มักพบเนื่องจากสาเหตุการเกิดสนิมได้แก่ คราบน้ำสนิมบนผิวคอนกรีต รอยแตกร้าวเนื่องจากการขยายตัวของสนิมเหล็ก การระเบิดออกของผิวคอนกรีต ซึ่งหากไม่มีการซ่อมแซมโครงสร้างดังกล่าวอย่างถูกต้องเหมาะสม อาจนำไปสู่การพังทลายของโครงสร้างได้ การซ่อมแซมการเกิดสนิมอีกวิธีวิธีที่ได้รับการนิยมเป็นอย่างสูง ได้แก่ การใช้สารยับยั้งการเกิดสนิม ซึ่งมีความสะดวกในการดำเนินการ และอาจใช้ควบคู่ไปกับวิธีการป้องกันและซ่อมแซมอื่นๆ ได้ เพื่อให้ระบบการป้องกันและซ่อมแซมมีความประสิทธิภาพ และมีความคงทนมากยิ่งขึ้น สารยับยั้งการเกิดสนิม (Corrosion Inhibitor) … Read More

สนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตคืออะไร มีข้อเสียยังไง แล้วจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร

ปัญหาการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีต เป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร โดยเฉพาะอาคารที่ถูกสร้างมานานหลายปี ปัญหาที่เกิดจากการเกิดสนิมในเหล็กเสริมจะทำให้พื้นที่หน้าตัดของเหล็กลดลงและคอนกรีตหุ้มเหล็กเสริมเกิดรอยแตกร้าวหลุดร่อนออกไป ทำให้สูญเสียความสามารถในการรับแรง อาคารเก่าแก่ที่มีอายุการใช้งานมานาน เมื่อเกิดปัญหาการเกิดสนิมในเหล็กเสริมคอนกรีตที่รุนแรง จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของอาคารและเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคาร กลไกการเกิดสนิมเหล็ก การเกิดสนิมเหล็กเป็นผลจากการทำปฏิกิริยาเคมีของเหล็ก เป็นปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า (electronchemical) ของเหล็กกับสารประกอบที่ปะปนในสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสกับเหล็กนั้นๆ กระบวนการเกิดสนิมเหล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดสนิมในเหล็กที่มีวัสดุอื่นมาปกคลุมผิว เช่น โครงเหล็กของอาคารที่ผิวทาสีกันสนิมหรือในเหล็กเสริมคอนกรีต จะมีกระบวนการเกิดสนิมที่ซับซ้อน ค่อยเป็นค่อยไป   การเกิดสนิมเหล็ก … Read More

1 30 31 32 33 34