BSP ภูมิสยาม ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ micropile เสาเข็มต่อเติม ตอกเสาเข็ม
ref: https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1345940928785362
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
เมื่อวานนี้ผมได้ตอบข้อซักถามบางประการแก่น้องวิศวกรท่านหนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมโครงสร้าง และ เห็นว่าอาจมีประโยชน์จึงนำมาเล่าสู่กันฟังแก่เพื่อนๆ ด้วยนะครับ
คำถามนี้คือหากมีคานหน้าตัด H-BEAM ซึ่งได้ทำการ BUILT UP ด้วยเหล็กแผ่นประกบที่ด้านข้าง (ดูรูปที่ 1) ทั้งนี้อาจเนื่องด้วยการป้องกันการวิบัติแบบ LOCAL BUCKLING ในตัว TOP FLANGE (ดูรูปที่ 2) หรือเพียงต้องการที่จะเพิ่ม STABILITY ให้แก่โครงสร้างเนื่องจากพฤติกรรมการรับแรงตามแนวแกนที่มาก (ดูรูปที่ 3) ก็แล้วแต่
คำถามก็คือระหว่างการ BUILT UP ด้วย PLATE ตามรูป (A) หรือรูป (B) จะมีความเหมาะสมกว่ากัน ?
ผมก็ได้ตอบกับน้องเค้าไปว่า ในทางทฤษฎีนั้นสามารถที่จะทำได้ทั้ง 2 รูปแบบนะครับ แตกต่างกันที่เงื่อนไขของการออกแบบ และ การติดตั้งที่หน้างาน โดยผมได้สรุปเป็นข้อๆ ดังนี้
รูป (A)
หากทำการ BUILT UP เหล็กแผ่นตามรูปนี้ จะพบว่า
(A.1) ขนาดความกว้างโดยรวมของคานจะมากกว่าของคานในรูป (B) เพราะ เราเลือกทำการเสริมเหล็กแผ่นที่ด้านนอกสุด ดังนั้นหากที่หน้างานไม่ได้มีข้อจำกัดเรื่องขนาดในการวางตัวเสาก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ ต้องไม่ลืมว่าค่า พท หน้าตัด และ โมเมนต์ความเฉื่อยของเสาตามรูปนี้จะมีค่ามากกว่าในรูป (B) ซึ่งก็หมายความว่าจะต้องสิ้นเปลืองเงินมากกว่านั่นเอง จึงขอให้กลับไปดูในรายการคำนวณเสียก่อนว่าหน้าตัดที่ REQUIRED จริงๆ นั้นเป็นอย่างไร
(A.2) จำนวนรอยเชื่อมที่สามารถทำได้มี 4 ตำแหน่งเหมือนกันกับในรูป (B) แต่ ภาระที่เกิดขึ้นเนื่องจาก TENSION ในรอยเชื่อมตามรูปนี้จะมีมากกว่าในรูป (B) เพราะ การเชื่อมจะเกิดขึ้นที่ TOP และ BOTTOM FIBER ของคาน ซึ่งจะเป็นตำแหน่งที่หน่วยแรงเค้นดึงและอัดมีค่าสูงสุด
รูป (B)
หากทำการ BUILT UP เหล็กแผ่นตามรูปนี้ จะพบว่า
(B.1) ขนาดความกว้างโดยรวมของคานจะน้อยกกว่าของคานในรูป (A) เพราะ เราเลือกทำการเสริมเหล็กแผ่นที่ด้านใน FLANGE ดังนั้นหากที่หน้างานมีข้อจำกัดเรื่องขนาดในการวางตัวเสาการเลือกหน้าตัดแบบนี้ก็จะดีกว่า แต่ ก็ต้องไม่ลืมว่าค่า พท หน้าตัด และ โมเมนต์ความเฉื่อยของเสาตามรูปนี้จะมีค่าน้อยกว่าในรูป (A) ซึ่งก็หมายความว่าเราควรกลับไปดูในรายการคำนวณให้ดีเสียก่อนว่าหน้าตัดที่ REQUIRED จริงๆ นั้นเป็นอย่างไร
(B.2) จำนวนรอยเชื่อมที่สามารถทำได้มี 4 ตำแหน่งเหมือนกันกับในรูป (A) แต่ ภาระที่เกิดขึ้นเนื่องจาก TENSION ในรอยเชื่อมตามรูปนี้จะมีน้อยกว่าในรูป (A) เพราะ การเชื่อมจะเกิดขึ้นที่รอยต่อีะหว่าง FLANGE และ PLATE ซึ่งจะเป็นตำแหน่งที่หน่วยแรงเค้นดึงและอัดนั้นลดลงมาจากค่าสูงสุดที่ TOP และ BOTTOM FIBER ซึ่งต้องลองตรวจสอบดูว่า ณ ตำแหน่งนี้ค่าหน่วยแรงเฉือนที่ PLATE จะต้องรับนั้นเป็นตัวที่ GOVERN การออกแบบของเราหรือไม่นั่นเองครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
BSP-Bhumisiam
คุณภาพทีมงานช่างมาตรฐาน
คุณภาพเครื่องจักรมาตรฐาน
งานเอกสารตรวจสอบเชื่อถือได้
คุณภาพเสาเข็มมาตรฐาน มอก. 397-2524
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดผนังกำแพง ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile) สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ติดต่อ สายด่วน โทร 081-634-6586
http://www.micro-pile.com