การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต

การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE)

k-micropile เสาเข็มไมโครไพล์ spunmicropile 04-04

หัวข้อในวันนี้จะเกี่ยวข้องกันกับหัวข้อ การออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คอนกรีต (STRUCTURAL CONCRETE ENGINEERING DESIGN หรือ SCE) นะครับ

ในวันนี้ผมจะขออนุญาตนำรายละเอียดของอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสกนโครงสร้างตามรูปที่ผมได้นำมาฝากเพื่อนๆ ได้ดูกันในรูปเมื่อวาน นั่นก็คือ เครื่อง X-SCAN PS 1000 ของ HILTI มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ เพื่อนๆ ทุกคนจะได้มีความรู้และได้ทราบถึงคุณสมบัติการใช้งานของเจ้าเครื่องมือชิ้นนี้กันให้มากยิ่งขึ้นนะครับ

คุณสมบัติเด่นๆ ของเครื่องมือนี้ คือ จะสามารถแสดงภาพวัสดุที่ตรวจพบได้ในโครงสร้างคอนกรีตในทันทีแบบ REAL-TIME ดังนั้นการใช้งานจะค่อนข้างง่าย โดยที่ผู้ใช้งานนั้นไม่มีความจำเป็นต้องเป็นผู้ชำนาญงานเฉพาะด้านแต่อย่างใดเลยนะครับ เครื่องๆ นี้จะมีโหมดในการสแกนทั้งหมด 3 โหมด เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับรูปแบบในการตรวจสอบแบบต่างๆ ซึ่งโหมดในการแสกนนั้นจะประกอบด้วย

(1) QUICK SCAN
(2) QUICK SCAN RECORDING
(3) IMAGE SCAN (2D & 3D)

สำหรับจอแสดงผลจะสามารถแสดงภาพของโครงสร้างได้ทั้งทางด้านบนและภาพตัดในทั้งสองทิศทาง ซึ่งช่วยทำให้สามารถทำการระบุตำแหน่ง หรือ ทราบตำแหน่งของเหล็กเสริมที่มีหลายชั้นได้สะดวกและแม่นยำมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

สำหรับภาพที่แสดงบนเครื่องมอนิเตอร์จะมีความชัดเจนค่อนข้างมาก รวมไปถึงโปรแกรมที่มีอยู่ในเครื่องจะสามารถวิเคราะห์ผลได้ในตัว และ ยังสามารถที่จะเชื่อมต่อกับ คอมพิวเตอร์ส่วนตัว หรือ คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ้ค เพื่อทำการวิเคราะห์ และ พิมพ์ผลเพื่อนำไปใช้หรือเพื่อทำการนำเสนอต่อไปได้นะครับ ส่วนเครื่องมือตัวนี้นั้นถือได้ว่ามีประสิทธิภาพที่สูงมากๆ และ สามารถที่จะใช้งานได้โดยง่าย ซึ่งสามารถที่จะทำการตรวจสอบพื้นที่ที่ต้องการที่จะทำการ ตัด หรือ เจาะ ได้มากกว่า 100 ตร.ม. ภายในระยะเวลาการทำงาน 1 วันเลยทีเดียวนะครับ

เป็นยังไงบ้างครับ ถ้าหากในโอกาสต่อๆ ไปเพื่อนๆ มีความจำเป็นที่จะต้องทำการเจาะ หรือ ทำช่องเปิดบนโครงสร้างคอนกรีต ไม่ว่าโครงสร้างๆ นั้นจะเป็นโครงสร้าง คสล หรือ คอร ก็แล้วแต่ ซึ่งเพื่อนๆ ไมได้ทำการเตรียมช่องเปิดนี้เอาไว้ตั้งแต่ทีแรก เมื่อเพื่อนๆ จะทำการเจาะโดยการ CORING พื้นๆ นั้นลงไป และ เพื่อนๆ ก็มีความกังวลว่าการเจาะนั้นจะทำความเสียหายแก่ เหล็กเสริม หรือ ลวดอัดแรง ที่มีอยู่ภายในโครงสร้างคอนกรีตนั้นๆ ได้ ผมก็ขอแนะนำให้เพื่อนๆ นั้นใช้การแสกนโครงสร้าง อาจทำโดยใช้เครื่องมือของทาง HILTI เหมือนใน ตย ที่แสดงในโพสต์ๆ นี้ก็ได้นะครับ ก็น่าจะเป็นทางออกที่ดีทางออกหนึ่งในการแก้ปัญหาของเพื่อนๆ นะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ