การวิเคราะห์การสั่นตัวของโครงสร้างฐานรากที่ทำหน้าที่รองรับเครื่องจักร (VIBRATION ANALYSIS IN MACHINE FOUNDATION)

การวิเคราะห์การสั่นตัวของโครงสร้างฐานรากที่ทำหน้าที่รองรับเครื่องจักร (VIBRATION ANALYSIS IN MACHINE FOUNDATION)

micropile เสาเข็ม micro spun

ในการวิเคราะห์การสั่นตัวของโครงสร้างฐานรากที่ทำหน้าที่รองรับเครื่องจักรนั้นต้องขอบอกก่อนนะครับว่า เรื่องๆ นี้เป็นเรื่องที่ทำความเข้าใจได้อย่างละเอียดแท้จริงได้ค่อนข้างที่จะยากมากๆ แม้กระทั่งสำหรับคนที่มีความเข้าใจบ้างอยู่แล้วก็ยังถือเป็นเรื่องยากที่จะทำการอธิบายเรื่องๆ นี้แก่คนอื่นๆ ให้สามารถที่เข้าใจถึงเรื่องๆ นี้ได้เหมือนตนนะครับ ดังนั้นในการเรียนรู้เรื่องนี้สิ่งแรกที่เราควรทำ คือ เราควรที่จะเริ่มต้นทำความรู้จักเกี่ยวกับเรื่องพื้นฐานของการวิเคราะห์การสั่นตัวในโครงสร้างกันก่อนนะครับ ซึ่งหัวข้อที่ต้องถือว่ามีความสำคัญมากที่สุดเลยก็คือเรื่อง ความถี่ธรรมชาติ (NATURAL FREQUENCY) นั่นเองครับ

สมมติว่าเราออกแรงกระทำแก่โครงสร้างๆ หนึ่งจนทำให้โครงสร้างนั้นเริ่มเกิดการสั่นตัว ความถี่ที่โครงสร้างนั้นเกิดการสั่นตัวเราจะเท่ากับค่าความถี่ธรรมชาติ เช่น หากเราออกแรงผลักแก่ชิงช้าให้เกิดการแกว่ง ความถี่ที่ชิงช้านั้นแกว่งไปมาก็คือความถี่ธรรมชาติของตัวชิงช้าตัวนั้น เป็นต้นครับ แต่ ค่าความถี่ธรรมชาตินั้นมิได้มีเพียงแค่ค่าเดียว ในความเป็นจริงนั้นค่าความถี่ธรรมชาติในโครงสร้างหนึ่งๆ นั้นสามารถที่จะมีได้เยอะแยะมากมายจนนับไม่ถ้วน ซึ่งค่าความถี่ธรรมชาติแต่ละค่าจะทำให้โครงสร้างนั้นเกิดการสั่นตัวแตกต่างกันออกไป เช่น ถ้าหากเราเอาเชือกมาแกว่งที่ความถี่ค่าหนึ่ง เชือกก็จะสั่นในรูปแบบๆ หนึ่ง ถ้าเราแกว่งเชือกให้เร็วขึ้นอีก หรือ พูดง่ายๆ คือ เราทำการเพิ่มความถี่ในการแกว่งให้มากยิ่งขึ้น เชือกก็จะสั่นเหมือนมี LOOP ที่มากขึ้นด้วย ซึ่งลักษณะการสั่นที่เกิดขึ้นแบบหนึ่งๆ นี้เราจะเรียกว่า MODE SHAPE ดังนั้นชิ้นงานหนึ่งๆ ก็จะมีหลาย MODE SHAPE เช่นเดียวกับค่าความถี่ธรรมชาตินะครับ

โดยหากเราออกแรงกระทำจากภายนอกโดยที่แรงกระทำนั้นมีค่าความถี่ในการสั่นตัวเท่ากับค่าความถี่ธรรมชาติก็จะทำให้โครงสร้างนั้นๆ เกิดการสั่นตัวที่มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นจนมีค่าเข้าใกล้ความเป็นอนันต์ เราจะเรียกสภาวะๆ นี้ว่า โครงสร้างนั้นการเกิดการสั่นพ้อง (STRUCTURAL RESONANCE) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้โครงสร้างนั้นเกิดความเสียหายหรือวิบัติลงได้ แต่ ถ้าหากเราออกแรงกระทำให้ไม่ตรงกับค่าความถี่ธรรมชาติ การสั่นพ้องก็จะไม่เกิดขึ้น และ การสั่นตัวของโครงสร้างนั้นก็จะไม่เกิดการสั่นแบบรุนแรง หากจะจินตนาการภาพให้ออกก็ให้ลองนึกถึงกรณีของการแกว่งเชือก หากเราทำการแกว่งแบบมั่วๆ เชือกก็จะไม่ออกมาเป็น LOOP ที่สม่ำเสมอ หรือ การแกว่งชิงช้าก็ได้นะครับ ถ้าหากเราผลักชิงช้าแบบไม่ให้ตรงจังหวะ ชิงช้าก็จะเกิดการแกว่งตัวที่มีค่าน้อยลงนั่นเองนะครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ref : https://www.facebook.com/bhumisiam/posts/1479646782081442

BSP-Bhumisiam

ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน 397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449