SHALLOW FOUNDATION เสาเข็มระบบแรงฝืด หรือ FRICTION PILE

 

SHALLOW FOUNDATION เสาเข็มระบบแรงฝืด หรือ FRICTION PILE

เสาเข็มไมโครไพล์

BSP ภูมิสยาม ไมโครไพล์ สปันไมโครไพล์ micropile 

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

เนื่องจากในช่วยปลายของสัปดาห์นี้ไปจนถึงช่วงปลายๆ ของสัปดาห์หน้า แอดมินมีกำหนดการที่จะต้องเดินทางไป ณ ประเทศไต้หวัน เพื่อไปนำเสนอผลงานการทำงานวิจัยในระดับ ป เอก ที่กำลังศึกษาอยู่ ทางแอดมินจึงอยากจะขออนุญาตเพื่อนๆ ทุกคนทำการปรับเปลี่ยนผังและแผนของการโพสต์สักเล็กน้อย ทั้งนี้ก็เพื่อให้แอดมินนั้นสะดวกและเราเราก็ยังจะได้สามารถพบกันได้ในทุกๆ วันเหมือนเช่นเคยได้นั่นเองครับ

ในวันอาทิตย์แบบนี้ ผมก็จะนำเอาคำถามหรือปัญหาประจำสัปดาห์ที่ได้ฝากเอาไว้เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาๆ เฉลยให้แก่เพื่อนๆ ทุกคนนะครับ สืบเนื่องจากที่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานั้นหลังจากที่เพื่อนๆ ได้รับชมคลิปที่ผมได้แชร์มาจากเพจ สารคดี HD History ไปแล้ว โดยที่คลิปๆ นี้มีความน่าสนใจมากๆ เกี่ยวข้องกันกับเรื่อง ความรู้ในการออกแบบและก่อสร้างตึกที่มีความสูงที่สุดในโลก หรือที่มีชื่อของอาคารว่า อาคารเบิร์จคาลิฟา ซึ่งตั้งอยู่ในมหานครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่เพื่อนๆ ก็ไม่ต้องตกใจหรือห่วงไปนะครับ ผมคงไมได้ตั้งใจที่จะตั้งคำถามอะไรที่มีความยากเย็นจนเกินไปเพื่อให้เพื่อนๆ ไม่สามารถที่จะตอบได้ ดังนั้นคำถามที่กำลังจะถามไปก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งในเนื้อหาของคลิปก็เพียงเท่านั้น ซึ่งคำถามก็มีทั้งหมด 2 ข้อสั้นๆ นั่นก็คือ

1. อาคารหอเอนปีซ่าที่ตั้งอยู่ในประเทศอิตาลีใช้ระบบฐานรากระบบใดและเหราะเหตุใดโครงสร้างของหอๆ นี้จึงเกิดการเสียรูปและเกิดเอียงตัวไป ?

2. ระบบฐานรากของอาคารเบิร์จคาลิฟาที่ตั้งอยู่ในมหานครดูไบนั้นใช้ระบบของฐานรากเป็นแบบใดและระบบโครงสร้างเสาเข็มของอาคารระบบใดในการรับแรง ?

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ ง่ายมากๆ เลยใช่หรือไม่ครับ ผมว่าเราอย่าเสียเวลาเลย ไปดูคำตอบของคำถามแต่ละข้อกันเลยดีกว่าครับ

1. อาคารหอเอนปีซ่าที่ตั้งอยู่ในประเทศอิตาลีใช้ระบบฐานรากระบบใดและเหราะเหตุใดโครงสร้างของหอๆ นี้จึงเกิดการเสียรูปและเกิดเอียงตัวไป ?

อาคารหอเอนปีซ่านั้นอาศัย “ระบบฐานรากแบบตื้น” หรือ “SHALLOW FOUNDATION” ที่มีขนาดเพียงแค่ 3 เมตร เพียงเท่านั้น โดยที่อาคารแห่งนี้มีการตั้งอยู่บนพื้นดินที่มีลักษณะค่อนข้างนิ่มที่มีลักษณะเป็นดินปนทรายและดินโคลนผสมกัน จนในที่สุดในขณะที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่อาคารก็เกิดการยุบตัวลงไปเพราะดินนั้นไม่มีคุณสมบัติที่ดีเพียงพอที่จะสามารถรับน้ำหนักของอาคารได้แต่สืบเนื่องจากการที่วัสดุหลักๆ ที่ถูกนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคารจะได้แก่ หินปูน และ ปูนขาว ซึ่งจะมีคุณสมบัติที่ดีสามารถที่จะต้านทานต่อแรงกระทำต่างๆ ได้ดีกว่าวัสดุประเภทหิน ก็เลยส่งผลทำให้อาคารแห่งนี้ไม่ได้ถึงขั้นถล่มลงมาแต่กลับกลายเป็นค่อยๆ เอนตัวเอียงลงมาแทน

2. ระบบฐานรากของอาคารเบิร์จคาลิฟาที่ตั้งอยู่ในมหานครดูไบนั้นใช้ระบบของฐานรากเป็นแบบใดและระบบโครงสร้างเสาเข็มของอาคารระบบใดในการรับแรง ?

โครงสร้างฐานรากและเสาเข็มของอาคารแห่งนี้มีการใช้งานในทำนองเดียวกันกับโครงสร้างทั่วๆ ไปในอาคารอื่นๆ นั่นก็คือ ใช้วัสดุคอนกรีตในการทำ ซึ่งระบบของฐานรากที่มีการใช้งานในอาคารแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า “ฐานรากแบบแพ” หรือ “RAFT FOUNDATION” โดยที่ฐานรากแบบแพที่ใช้รองรับน้ำหนักของอาคารๆ นี้ก็มีขนาดและความลึกของฐานรากที่หนามากๆ และเหมือนที่ผมเคยได้เรียนให้เพื่อนๆ ทราบไปก่อนหน้านี้ว่า ระบบของฐานรากระบบนี้มีความเหมาะสมที่จะถูกนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคารที่มีขนาดความสูงมากๆ เนื่องจากฐานรากระบบนี้จะสามารถช่วยในเรื่องของการรองรับภาระน้ำหนักที่จะถูกถ่ายลงมาจากอาคารทางด้านบนได้ ภายหลังจากการที่มีการเจาะสำรวจดินก็จะพบว่า ดินข้างล่างมีลักษณะเป็นดินที่เป็นหินตะกอนที่มีชื่อเรียกจำเพาะว่า หินคาลซีซิลไทต์ หรือว่า หินที่เกิดจากตะกอนฝุ่นของเปลือกหอย ซึ่งถือได้ว่าหินชนิดนี้เป็นหินประเภทหนึ่งที่พบได้ในท้องทะเลทรายแถบประเทศอาหรับ ซึ่งก็ต้องยอมรับด้วยว่าหินชนิดดังกล่าวไม่ได้มีความแข็งแรงมากเพียงต่อการรับน้ำหนักของอาคารที่มีความสูงมากขนาดนี้ นั่นเลยทำให้ที่บริเวณที่ปลายล่างสุดของโครงสร้างเสาเข็มเหล่านี้จะไม่ได้มีการวางตัวอยู่บนชั้นดินที่มีความแรงเพียงพอต่อการรับน้ำหนักเหมือนอย่างหินประเภท หินปูน หรือ หินแกรนิต ทำให้วิศวกรผู้ออกแบบระบบโครงสร้างเสาเข็มของอาคารแห่งนี้เลือกใช้เป็น “เสาเข็มระบบแรงฝืด” หรือ “FRICTION PILE” โดยที่ในขั้นตอนของการออกแบบนั้นทางวิศวกรผู้ออกแบบมีความจำเป็นที่จะต้องทำการคำนึงถึงทั้งในเรื่องของการรับน้ำหนัก (LOADING CONDITION) และ เรื่องของการทรุดตัว (DISPLACEMENT CONDITION) อย่างละเอียดมากๆ ซึ่งหากดูลึกลงไปในรายละเอียดก็จะพบว่า ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มที่ใช้ในอาคารแห่งนี้มีขนาดที่ใหญ่มากถึงต้นละ 1500 มม โดยที่โครงสร้างเสาเข็มแต่ละต้นนั้นก็จะมีขนาดความลึกที่มากถึงประมาณ 50 เมตร และจำนวนที่ใช้ทั้งหมดก็เท่ากับ 194 ต้น นั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN
Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตามมาตรฐาน ISO 45001:2018
2) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
4) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
5) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
6) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
7) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
8) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
9) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
10) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
11) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
 082-790-1447
 082-790-1448
 082-790-1449
 081-634-6586